Google
 

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

10 โมง 24 ก.ค.นี้ ไทรอัมพ์นัดรวมตัว 1,000 คน ตรงข้ามเซนทรัลเวิล เพื่อไปยื่นหนังสือยังสถานทูตสวิสเซอร์แลนด์

ดูรูปสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯไปสถานทูตสวิสเซอแลนด์ได้ที่
Triumph Labour (Thailand)Union Protest at Swiss embassy
Photo Album Click Here กดดูที่นี่
And

Photos of triumph international Labour(Philippines)Union

Photo Album Click Here กดดูที่นี่









เรียนเชิญทุกท่านทุกองค์เข้าร่วมทำข่าวและร่วมเดินขบวนไปหน้าสถานทูตสวิตเซอร์แลนด์

เนื่องด้วย เวลา 10.00 น. วันที่ 24 กรกฏาคม พ.ศ.2552 สมาชิกสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชันแนลแห่งประเทศไทย ประมาณ 1,000 บริเวณตรงข้ามเซนทรันเวิลใกล้แยกพระพรม เพื่อทำการเดินขบวนไปยัง สถานทูตสวิสเซอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ(ตรงข้ามสถานทูตอังกฤษ)

เพื่อที่จะยื่นหนังสือให้สถานทูตสวิสเซอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์หลักของนโยบายต่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่เคยประกาศไว้ คือส่งเสริมสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข บรรเทาความยากจนในโลก รวมถึงเคารพซึ่งสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมประชาธิปไตย ดังนั้นเราจึงต้องการในทางสมาพันธ์สวิสเซอร์แลนด์ติดตามวัตถุประสงค์ของตนเองอย่างเคร่งครัด ด้วยการเรียกร้องให้บริษัทไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล ที่ทำการเลิกจ้างพนักงานในไทย 1,959 คน โดยไม่ปรึกษาหารือกับพนักงานก่อน นอกจากนี้ในจำนวนผู้ที่ถูกเลิกจ้างยังประกอบด้วย สตรีกำลังตั้งครรภ์ คนพิกาล และผู้สูงอายุ จำนวนมาก ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่สามารถหางานใหม่ได้ เพื่อสอดคล้องกัลวัตถุประสงค์ของนโยบายดังกล่าวจึงต้อง

- ยกเลิกประกาศการเลิกจ้างคนงานทั้งหมดของ บริษัทไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล
- ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลตามหลักมาตรฐานแรงงานสากลและแนวปฏิบัติของบรรษัทข้ามชาติ (OECD Guidelines) ตามหลัก OECD Guidelines for MNEs
- เปิดโอกาสให้องค์กรของลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานเข้าร่วมการปรึกษาหารือกับฝ่ายบริหารในการดำเนินนโยบายต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อ ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนงาน จะเป็นการลดความตึงเครียด ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายแรงงานกับฝ่ายบริหาร
- ปฏิบัติตาม CODE OF CONDUCT ของกลุ่มบริษัทไทรอัมพ์ฯ ซึ่งมุ่งเน้นถึงความสำคัญของการปกป้องสิทธิมนุษยชน ดังที่กล่าวไว้ในปฎิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
(the “General Declaration Of Human Rights”) และพร้อมใจปฎิบัติตามข้อตกลงที่เกี่ยวข้องขององค์กรแรงระหว่างประเทศ ( ILO) และข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ขององค์การสหประชาชาติ ในด้านกฎระเบียบและการพัฒนาการปฎิบัติงานและสภาวะทางเศรษฐกิจ

จึงเรียนมาเพื่อเชิญทำข่าวและเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว



(ร่าง)แถลงการณ์เรียกร้องความเป็นธรรม



บรรษัทข้ามชาติสวิตเซอร์แลนด์ นายทุนชุดชั้นใน ชุดว่ายน้ำ ยักษ์ใหญ่ “Triumph” ไม่ยอมรับหลักปฎิบัติ (OECD) เลิกจ้างคนงานที่สมุทรปราการ 1,959 คน ซึ่งมีแต่คนงานอายุมาก คนท้อง คนป่วย คนพิการ และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน

สะท้อน “วัตถุประสงค์หลักของนโยบายต่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์เอง ที่เคยประกาศไว้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 ว่าจะส่งเสริมสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข บรรเทาความยากจนในโลก รวมถึงเคารพซึ่งสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมประชาธิปไตย” จะเป็นจริงได้หรือไม่ถ้าปล่อยให้นายทุนของประเทศตนกระทำกับคนไทย

เรียนพี่น้องประชาชนทุกท่าน
พวกเราองค์กรเพื่อนมิตรและคนงานบริษัทบอดี้แฟชั่น(ประเทศไทย)จำกัดซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล ตั้งอยู่ที่ 393 หมู่ 17 นิคมอุตสาหกรรมเมืองใหม่บางพลี ต. บางเสาธง อ. บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ประกอบกิจการอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ผลิต ชุดชั้นใน และชุดว่ายน้ำ ยี่ห้อไทรอัมพ์ วาเลเซีย สล๊อคกี้ AMO ,HOM บริษัทฯได้มีการประกาศเลิกจ้างคนงานเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 ทั้งหมด 1,959 คน เป็นจำนวน 50% ของคนงานทั้งหมดที่ โรงงานบางพลีให้มีผลการพ้นสภาพการเป็นคนงานของบริษัทบอดี้ฯในวันที่ 31 สิงหาคม 2552 และคนงานที่ถูกเลิกจ้างส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯเป็นกรรมการสหภาพแรงงานฯถูกเลิกจ้างถึง 13 คนจากกรรมการสหภาพแรงงานทั้งหมด 19 คน เป็น มีคนท้อง คนงานอายุมาก คนป่วย คนพิการ และคนงานที่ทำงานให้บริษํทมาอย่างยาวนานถึง 20-30 ปี และส่วนใหญ่เป็นคนงานหญิง ในการเลิกจ้างครั้งนี้บริษัทฯได้อ้างว่า “ต้องการปรับปรุงโครงสร้างค่าใช้จ่ายระยะยาวของไทรอัมพ์ทุกหน่วยงาน จุดมุ่งหมายเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรให้มีประสิทธิผล ทำให้เกิดความมั่นใจว่าธุรกิจของเรายังคงยืนหยัดอยู่ได้ด้วยความมั่นคงและยังขยายต่อได้เมื่อโอกาสมาถึง” ในขณะที่มีการขยายกำลังการผลิตที่โรงงานที่นครสวรรค์ ด้วยการซื้อที่ดินและสร้างโรงงานที่ได้มาตรฐานรองรับการผลิตได้เต็มที่ได้ถึง 2,000 คน ในปีที่ผ่านมา โดยได้รับการสนับสนุนการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ได้รับการส่งเสริมการลงทุน 75.5 ล้าน ในปัจจุปันโรงงานที่นครสวรรค์มีคนงานถึง 1,000 กว่าคน แต่ไม่มีสหภาพแรงงาน ซึ่งถือเป็นองค์กรพื้นฐานของคนงาน

สหภาพแรงงานฯเชื่อว่าการเลิกจ้างครั้งนี้ เป็นการย้ายฐานการผลิตเพื่อหาแหล่งการดำเนินกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษี และทำลายสหภาพแรงงาน สหภาพแรงงานฯ จึงเดินทางจากสมุทรปราการมาขอเรียกร้องความเป็นธรรมต่อ “รัฐบาลแห่งสมาพันธ์รัฐสวิสเซอร์แลนด์ การกระทำดังกล่าวของบริษัทฯเป็นการกระทำที่รุนแรงไร้ซึ่งมนุษยชนที่ดีควรกระทำ ไม่เคารพในสิทธิมนุษยชน เป็นการกระทำที่เห็นคนงานเป็นเพียงสินค้าเมื่อรีดแรงงานหมด ก็โยนทิ้งให้คนงานเหล่านั้นต้องเผชิญกับความยากแค้นและไม่มั่นคงในชีวิต รวมถึงยังเป็นการไม่ปฏิบัติตามหลักการของสังคมประชาธิปไตย เนื่องจากไม่มีการปรึกษาหารือร่วมเพื่อหาทางออกที่สร้างสรรค์ “
ในฐานะที่ประเทศของท่านมีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนมาอย่างยาวนานและสำคัญแห่งหนึ่งของโลก รวมถึงเป็นที่ตั้งสำคัญขององค์กรสิทธิต่างๆหลายองค์กร แน่นอนรวมถึง ILO ด้วย ซึ่งบรรษัทข้ามชาติที่ไปลงทุนดำเนินกิจการในประเทศต่างๆจำเป็นต้องดำเนินกิจการบนพื้นฐานหรือมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก และประเทศของท่านเป็นสมาชิกมาตรฐานแรงงานสากลและแนวปฏิบัติของบรรษัทข้ามชาติ (OECD Guidelines) ตามหลัก ที่ว่าการเปิดเผยข้อมูล (Disclosure) ธุรกิจควรเปิดเผยข้อมูลที่เชื่อถือได้อย่างสม่ำเสมอ อาทิ โครงสร้างองค์กร สถานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและสังคมบริเวณโดยรอบองค์กร และที่สำคัญการจ้างงานและแรงงานสัมพันธ์ (Employment and Industrial Relations) ธุรกิจควรเคารพสิทธิของลูกจ้าง ปฏิบัติต่อลูกจ้างด้วยความเท่าเทียมกัน ให้ข้อมูลผลการดำเนินงานที่แท้จริงของธุรกิจแก่ลูกจ้างและผู้แทนสหภาพแรงงานฯและคนงานของบริษัททั้งหมด การเลิกจ้างเป็นกลุ่มจำนวนมากอย่างนี้ นายจ้างจะต้องปรึกษากับองค์การลูกจ้างและรัฐบาลในการหาทางออกเพื่อลดผลกระทบต่อคนงานให้มากที่สุด ซึ่งประเทศของท่านอยู่ในกลุ่ม OECD ด้วย จึงจำเป็นที่ต้องปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวอย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้แล้วตัววัตถุประสงค์หลักของนโยบายต่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์เอง ที่เคยประกาศไว้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 ว่าจะส่งเสริมสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข บรรเทาความยากจนในโลก รวมถึงเคารพซึ่งสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมประชาธิปไตย ภายหลังเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ กันยายน 2545 สวิตเซอร์แลนด์ได้มีบทบาทแข็งขันในหลายเรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิมนุษยชน อีกทั้งที่ผ่านมาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้รับการยกย่องในฐานะที่มีบทบาททั้งในการเจรจาด้านการเมืองและได้มอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศและการยกระดับความเป็นอยู่ของสตรี ซึ่งการเลิกจ้างคนงาน 1,959 คนในครั้งนี้ เกือบทั้งหมดเป็นสตรี และที่สำคัญหลายคนอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ พิการ เจ็บป่วยและใกล้เกษียณอายุ พวกเราจึงขอความเป็นทำต่อการกระทำของนายจ้างครั้งนี้ด้วย

ในขณะนี้คนงานทั้งหมดชุมนุมอยู่ที่ ข้างโรงงานเพื่อรอความเป็นธรรม ทุกท่านสนับสนุนการต่อสู้ได้ติดต่อ เบอร์โทร 084-5382016เบอร์โทร 087-0206672 Email: ning2475@hotmail.com
สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย 24 กรกฎาคม 2552


(ร่าง)หนังสือถึงสถานทูตสมาพันธรัฐสวัสเซอร์แลนด์


สทอท.ที่ 0058/2552

20 กรกฎาคม 2552


เรื่อง ขอให้บรรษัทข้ามชาติสวิตเซอร์แลนด์ยุติการเลิกจ้าง
เรียน นาย โรดอล์ฟ อิมฮูฟ(Mr.Rodolphe Imhoof) เอกอัครราชทูตสมาพันธ์รัฐสวิสเซอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย

ด้วยบริษัทไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลได้เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2512 สำนักงานใหญ่อยู่ที่ ธุนสแตรสเช่ 3005 เมืองเบิร์น ประเทศสวิสและ Triumph Intertrade AG, Triumphweg 6, 5330 Bad Zurzach, Switzerland และได้มีบริษัทลูกได้จดทะเบียนในประเทศไทยเมื่อ ปี 2332 ชื่อบริษัทบอดี้แฟชั่น(ประเทศไทย)จำกัด ตั้งอยู่ที่ 393 หมู่ 17 นิคมอุตสาหกรรมเมืองใหม่บางพลี ต. บางเสาธง อ. บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ประกอบกิจการอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ผลิต ชุดชั้นใน และชุดว่ายน้ำ ยี่ห้อไทรอัมพ์ วาเลเซีย สล๊อคกี้ AMO HOM เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 ได้การประกาศเลิกจ้างคนงานทั้งหมด 1,959 คน เป็นจำนวน 50% ของคนงานทั้งหมดที่ โรงงานบางพลีให้มีผลการพ้นสภาพการเป็นคนงานของบริษัทบอดี้ฯ ในวันที่ 31สิงหาคม 2552 และคนงานที่ถูกเลิกจ้างส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯ อนุกรรมการสหภาพแรงงาน และเป็นกรรมการสหภาพแรงงานฯถึง 13 คนจากกรรมการสหภาพแรงงานทั้งหมด 19 คน ในการเลิกจ้างครั้งนี้ได้เลิกจ้างคนท้อง คนใกล้เกษียณ คนป่วย คนพิการและส่วนใหญ่เป็นคนงานหญิงที่มีอายุงานที่ทำงานให้บริษัทฯมาอย่างยาวนานถึง 20-30 ปี และไม่สามารถไปหางานใหม่ หรือไปประกอบอาชีพอื่นได้ ในสิ่งที่ทุกคนต้องการคือการมีงานทำ มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ในการเลิกจ้างครั้งนี้บริษัทฯได้อ้างว่า “ต้องการปรับปรุงโครงสร้างค่าใช้จ่ายระยะยาวของไทรอัมพ์ทุกหน่วยงาน จุดมุ่งหมายเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรให้มีประสิทธิผล ทำให้เกิดความมั่นใจว่าธุรกิจของเรายังคงยืนหยัดอยู่ได้ด้วยความมั่นคงและยังขยายต่อได้เมื่อโอกาสมาถึง” โดยก่อนหน้านี้ก็ไม่มีมาตราการปรับปรุงโครงสร้างค่าใช้จ่ายที่ชัดเจนเลย ในขณะที่มีการขยายกำลังการผลิตที่โรงงานที่นครสวรรค์ ด้วยการซื้อที่ดินและสร้างโรงงานที่ได้มาตรฐานรองรับการผลิตได้เต็มที่ได้ถึง 2,000 คน ในปีที่ผ่านมา โดยได้รับการสนับสนุนการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ซึ่งเป็นข่าวหนังสือพิมพ์แนวหน้า สรุปข่าวโลกธุรกิจ ลงวันอังคารที่ 8 กรกฎาคม 2008 ว่าได้รับการส่งเสริมการลงทุน 75.5 ล้าน โดยในปัจจุปันโรงงานที่นครสวรรค์มีคนงานถึง 1,000 กว่าคน แต่ไม่มีสหภาพแรงงาน ที่ถือเป็นองค์กรสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐาน

การกระทำดังกล่าวของบริษัทฯเป็นการกระทำที่รุนแรงไร้ซึ่งมนุษยชนที่ดีควรกระทำ ไม่เคารพในสิทธิมนุษยชน เป็นการกระทำที่เห็นคนงานเป็นเพียงสินค้าเมื่อรีดแรงงานหมด ก็โยนทิ้งให้คนงานเหล่านั้นต้องเผชิญกับความยากแค้นและไม่มั่นคงในชีวิต รวมถึงยังเป็นการไม่ปฏิบัติตามหลักการของสังคมประชาธิปไตย เนื่องจากไม่มีการปรึกษาหารือร่วมเพื่อหาทางออกที่สร้างสรรค์
ในฐานะที่ประเทศของท่านมีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนมาอย่างยาวนานและสำคัญแห่งหนึ่งของโลก รวมถึงเป็นที่ตั้งสำคัญขององค์กรสิทธิต่างๆหลายองค์กร แน่นอนรวมถึง ILO ด้วย ซึ่งบรรษัทข้ามชาติที่ไปลงทุนดำเนิน

กิจการในประเทศต่างๆจำเป็นต้องดำเนินกิจการบนพื้นฐานหรือมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก และประเทศของท่านเป็นสมาชิก เครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network - HSN )เช่นเดียวกับประเทศไทย โดยเครือข่ายดังกล่าวก็มีวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์โลกมนุษย์ซึ่งประชาชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความมั่นคง (security) และมีศักดิ์ศรี (dignity) อีกเช่นกัน

นอกจากนี้แล้วตัววัตถุประสงค์หลักของนโยบายต่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์เอง ที่เคยประกาศไว้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 ว่าจะส่งเสริมสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข บรรเทาความยากจนในโลก รวมถึงเคารพซึ่งสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมประชาธิปไตย ภายหลังเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ กันยายน 2545 สวิตเซอร์แลนด์ได้มีบทบาทแข็งขันในหลายเรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิมนุษยชน อีกทั้งที่ผ่านมาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้รับการยกย่องในฐานะที่มีบทบาททั้งในการเจรจาด้านการเมืองและได้มอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศและการยกระดับความเป็นอยู่ของสตรี ซึ่งการเลิกจ้าง 1,959 คนในครั้งนี้เกือบทั้งหมดเป็นสตรี เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และที่สำคัญหลายคนอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ พิการ เจ็บป่วยและใกล้เกษียณอายุ

ดังนั้นสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯจึงขอเรียกร้องต่อท่านให้บรรษัทข้ามชาติที่ เป็นบริษัทจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้ปฎิบัติต่อคนงานดังนี้

1. ให้บริษัทฯยกเลิกประกาศการเลิกจ้างคนงานทั้งหมดและให้รับคนงานกลับเข้าทำงานตามปกติ

2. ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลตามหลักมาตรฐานแรงงานสากลและแนวปฏิบัติของบรรษัทข้ามชาติ (OECD Guidelines) ตามหลัก OECD Guidelines for MNEs ที่ว่าการเปิดเผยข้อมูล (Disclosure) ธุรกิจควรเปิดเผยข้อมูลที่เชื่อถือได้อย่างสม่ำเสมอ อาทิ โครงสร้างองค์กร สถานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและสังคมบริเวณโดยรอบองค์กร และที่สำคัญการจ้างงานและแรงงานสัมพันธ์ (Employment and Industrial Relations) ธุรกิจควรเคารพสิทธิของลูกจ้าง ปฏิบัติต่อลูกจ้างด้วยความเท่าเทียมกัน ให้ข้อมูลผลการดำเนินงานที่แท้จริงของธุรกิจแก่ลูกจ้างและผู้แทนสหภาพแรงงานฯและคนงานของบริษัททั้งหมด การเลิกจ้างเป็นกลุ่มจำนวนมากอย่างนี้ นายจ้างจะต้องปรึกษากับองค์การลูกจ้างและรัฐบาลในการหาทางออกเพื่อลดผลกระทบต่อคนงานให้มากที่สุด ซึ่งประเทศของท่านอยู่ในกลุ่ม OECD ด้วย จึงจำเป็นที่ต้องปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวอย่างเคร่งครัด

3. บริษัทต้องเปิดโอกาสให้องค์กรของลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานเข้าร่วมการปรึกษาหารือกับฝ่ายบริหารในการดำเนินนโยบายต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อ ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนงาน จะเป็นการลดความตึงเครียด ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายแรงงานกับฝ่ายบริหาร เพราะการปรึกษาหารือเป็นการเคารพในสิทธิมนุษยชนของคนงาน เป็นหลักปฏิบัติที่ใช้กันในสังคมประชาธิปไตย และหลัก OECD Guidelines for MNEs ในเรื่องของการจ้างงานและแรงงานสัมพันธ์ อีกเช่นกัน เพื่อนำไปสู่การหาทางออกที่สร้างสรรค์และลดผลกระทบของการเลิกจ้างในกรณีของการเลิกจ้างพร้อมกันหลายคน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการเร่งด่วนระยะ 1 ปี ของรัฐบาลไทยในเรื่องของการรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน ที่เสนอให้ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้าง แน่นอนทางสหภาพแรงงานฯมั่นใจว่ามีอีกหลายทางเลือกที่สร้างสรรค์

4. ให้บริษัทฯปฏิบัติตาม CODE OF CONDUCT ของกลุ่มบริษัทไทรอัมพ์ฯ ซึ่งมุ่งเน้นถึงความสำคัญของการปกป้องสิทธิมนุษยชน ดังที่กล่าวไว้ในปฎิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(the “General Declaration Of Human Rights”) และพร้อมใจปฎิบัติตามข้อตกลงที่เกี่ยวข้องขององค์กรแรงระหว่างประเทศ ( ILO) และข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ขององค์การสหประชาชาติ ในด้านกฎระเบียบและการพัฒนาการปฎิบัติงานและสภาวะทางเศรษฐกิจ รวมถึงมาตรฐานสากลขององค์กรสหประชาชาติ (UN Global Compact)


ฉะนั้นสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะสนับสนุนและดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังและเร่งด่วน
จึงขอขอบคุณมา ณ. โอกาสนี้


ขอแสดงความนับถือ



นางสาวบุญรอด สายวงศ์
เลขาธิการสหภาพแรงงาน



สำเนาถึง : International Labour Organization , Human Security Network (HSN)
Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD)
Mr. Abhisit Vejjajiva Prime Minister of Thailand
Communication Service FDEAFederal Palace East Wing 3003 Bern