วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 16:00:43 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1251368984&grpid=00&catid=00
ประชาชาติออนไลน์ นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ยิบตาของ สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ ผ่านร้อนผ่านหนาวกลางมรสุมทุนนิยมและการเมือง ค้นพบสัจธรรม ไม่มีอะไรได้มาฟรี ๆ โดยไม่ต้องออกแรง อยากได้ต้องต่อสู้เรียกร้อง ล่าสุดรับรางวัลเจริญวัดอักษร ปี 2552 ลั่น "รวมตัวกัน" เราสู้ได้
วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม 2552 มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มอบเหรียญ "เจริญ วัดอักษร" ประจำปี 2552 ให้แก่ "สหภาพแรงงานไทรอัมพ์"
ท่ามกลาง เสียงร้องไชโย แสดงความยินดีของสหภาพแรงงาน ไทรอัมพ์ ฯ ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง บางคนก็เป็นแม่ของลูก เธอบางคนยังไม่รู้ว่า พรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร
"ความเข้มแข็งของเรา ไม่มีอำนาจใด ที่จะล้มล้างไปได้และผมคิดว่า…ชุมชนของเราต้องดีขึ้นเมื่อพี่น้องประชาชนรวมตัวกัน พลังของเรายิ่งใหญ่…หลาย ๆ เรื่องที่จะเข้ามาในชุมชน แม้แต่นายทุนข้ามชาติก็แล้วแต่…เราสู้ได้ " จิตรา คชเดช แกนนำสหภาพ ไทรอัมพ์ กล่าว ทั้งน้ำตา
คนทั่วไป อยากรู้จัก ไทรอัมพ์ แค่ เสื้อยกทรงสตรี หรือ ชุดว่ายน้ำ ราคาแพง หรือ ใคร บางคน อาจรู้จัก แค่ ไทรอัมพ์ คิงดอม น้อยคน นัก จะรู้เรื่องราว การต่อสู้ของสหภาพแรงงาน ไทรอัมพ์ บนเส้นทางที่ยืดยาวมาเกือบ 3 ทศวรรษ
@ 29 ปีบนเส้นทางทุนนิยม
สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2523 ได้ผ่านการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อบริษัทไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย)จำกัด มาอย่างต่อเนื่อง เรื่องค่าจ้างและสวัสดิการเรื่องสิทธิเสรีภาพของคนงานเช่นการลางานเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ในปี 2524 มีการยื่นข้อเรียกร้องให้นายจ้างเยอรมันหยุดกิริยาเหยียดหยามคนไทย ทุกอย่างเกิดขึ้นจากการยื่นข้อเรียกร้องของคนงานและสหภาพแรงงานฯสิทธิที่ได้รับ ทุกอย่างไม่ได้มาจากนายจ้างใจดี และให้มาเฉยๆโดยที่ไม่มีสาเหตุ บริษัทไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย)จำกัด ได้จดทะเบียนเมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้เช่าอาคารสิวะดล แถวถนนคอนแวนต์ สีสม โดยมีคนงานไม่กี่ 100 คน และเริ่มขยายกิจการมีผู้ถือหุ้นที่น่าสนใจ คือนายเดวิด ไลแมน เจ้าของบริษัทติลลิกีแอนด์กิบบินส์ บริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมายเก่าแก่ที่สุดในมืองไทย 100 กว่าปีและนางเลียวนี่ เดซี่ เวชชาชีวะ มีชาวเยอรมันเป็นหุ้นส่วนใหญ่จดทะเบียนในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ปัจจุปันบริษัทตั้งอยู่ที่ที่ 393 หมู่ 17 นิคมอุตสาหกรรมเมืองใหม่บางพลี ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ. สมุทรปราการ มีคนงานประมาณ 4,200 คน และทำการผลิตชุดชั้นใน ชุดว่ายน้ำ ยี่ห้อ ไทรอัมพ์ วาเลเซีย สล๊อคกี้ AMO ,HOM และได้รับจ้างผลิตชุดชั้นในชื่อดังหลายยี่ห้อเช่นมาร์คแอนสเปนเซอร์ บริษัทได้เริ่มขยายสาขาไปที่จังหวัดนครสวรรค์ ชื่อบริษัท บอดี้ แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด. ที่อยู่ : 194/2 หมู่ 5 พหลโยธิน ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จ. นครสวรรค์ 60240. และเมื่อปี 2551 บริษัทบอดี้แฟชั่นฯ นครสวรรค์ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)เป็นเงิน 75.5 ล้านบาท ได้ขยายโรงงานรองรับการผลิตบรรจุพนักงานได้ 2,000 กว่าคน
@ การก่อกำเนิดสหภาพแรงงานไทรอัมพ์
สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯเป็นสหภาพแรงงานฯที่ทำงานกับสมาชิกและคนงานมาโดยตลอด เป็นสหภาพแรงงานฯที่ใช้ระบบการเก็บเงินค่าบำรุง สื่อข่าวสาร รับเรื่องราวร้องทุกข์ รับคำเสนอแนะ ผ่านระบบตัวแทนไลน์ตัวแทนแผนก และเป็นสหภาพแรงงานที่ประธานสหภาพมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากที่ประชุมใหญ่ ตัวแทนไลน์ตัวแทนแผนก ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกในไลน์การผลิตนั้นๆโดยใช้โครงสร้างของบริษัทให้เกิดประโยชน์คือตัวแทนไลน์เทียบเท่าหัวหน้างาน แต่มาจากการเลือกตั้งของคนในไลน์นั้น หนึ่งไลน์การผลิต เท่ากับประมาณห้าสิบคน ตัวแทนไลน์จะนำเรื่องต่างๆเข้าสู่ที่ประชุมตัวแทนไลน์ซึ่งจัดให้มีเดือนละหนึ่งครั้งและกรณีเร่งด่วนนำสู่กรรมการสหภาพแรงงานฯ กรรมการจะนำเรื่องเข้ามาแก้ปัญหาโดยเร็ว เมื่อมีคนงานใหม่ตัวแทนไลน์จะแนะนำให้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน สหภาพแรงงานฯจึงมีสมาชิกในฝ่ายผลิตเกือบร้อยเปอร์เซนซึ่งถือว่าเป็นสหภาพแรงงานที่เป็นประชาธิปไตย การจัดกิจกรรมสมาชิก สหภาพแรงงานจัดให้มีกลุ่มศึกษาในเวลาพักกลางวันใช้เวลาประมาณยี่สิบนาทีเราจะคุยกันทุกเรื่องเรื่องปัญหาในบ้าน ในโรงงาน ในบ้านเมือง และจัดให้การศึกษาหลังเวลาเลิกงานในเเรื่องต้นทุนการผลิต กำไร จำนวนงานที่ทำกับสิ่งที่เราได้ตอบแทน และจัดให้กับเพื่อนคนงานในโรงงานทุกคน สหภาพแรงงานฯได้ป็นสหภาพที่ร่วมก่อตั้งและเป็นสมาชิกสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯได้เข้าร่วมเรียกร้องประกันสังคม เรียกร้องประกันการว่างงาน นอกจากนี้ สหภาพ เรียกร้องสิทธิทำแท้งเข้าถึงสุขอนามัยและถูกกฎหมายรวมถึงเรียกร้องรัฐสวัสดิการ ในปี 2535 สหภาพแรงงานฯได้พาคนงานผละงานทั้งหมดเรียกร้องให้นายจ้างเข้ามาดูแลคนงานเรื่องสวัสดิการรถรับส่ง ได้หยุดงาน 18 วัน จนเป็นเหตุให้รัฐมนตรีใช้มาตรา 35 ให้คนงานกลับเข้าทำงาน เมื่อปี2542 สหภาพแรงงานฯได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัทฯ ไม่สามารถตกลงกันได้จนถึงขั้นนายจ้างปิดงาน คนงานชุมนุมอยู่หน้าโรงงาน 22 วันและได้มีข้อตกลงสภาพการจ้างออกมาเรื่องการเลิกจ้างให้นายจ้างต้องร่วมกับสหภาพแรงงานฯให้เกิดความเป็นธรรมและเสมอภาค
นอกจากนี้ สหภาพแรงงาน ไทรอัมพ์ ยังเคลื่อนไหว คัดค้าน เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ปี 2535 รวมถึงการรัฐประหารครั้งหลังสุด 19 กันยายน 2549
@ เบื้องหลังความสำเร็จมีความเจ็บปวด
ในบริษัทบอดี้ แฟชั่น(ประเทศไทย)จำกัด ได้มีระบบการจ้างงานที่ให้คนงานมีแรงจูงใจในการทำงานสำหรับพนักงานเย็บ คือเย็บงาน 40 ชิ้นบริษัทจะจ่ายเป็นคูปอง ในคูปองจะกำหนดนาทีแล้วแต่ความยากง่าย เมื่อได้นาทีแล้วจะต้องนำไปส่งตอนเย็นเลิกงาน และบริษัทจะนำคูปองมาคิดเป็นเงิน
ราคาต่อนาที มาจากการยื่นข้อเรียกร้อง ตัวอย่างเช่น วันนี้ทำงานได้ 500 นาทีX ราคาคูปอง 1.300บาท=650 บาท เท่ากับคนงานจะได้ค่าจ้าง 650 บาท ถ้าทำไม่ได้จะได้ค่าจ้างมาตรฐาน 333 บาท
ฉะนั้นคนงานยิ่งทำงานมากยิ่งได้เงินมาก พนักงานเลยได้เห็นการทำงานที่ไม่กินน้ำ ไม่เข้าห้องน้ำ เข้างานก่อนเวลา และป่วยเป็นโรคไต ปวดหลังกันมากที่สุด เมื่อต้นปี 2547 บริษัทฯได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงขบวนการผลิต และจะใช้ที่ประเทศไทยเป็นที่แรกนำร่องและเริ่มใช้กับส่วนที่ผลิตชุดว่ายน้ำเท่านั้น
ถ้าหากระบบในไทยประสบความสำเร็จจะนำไปปฎิบัติที่อื่นต่อไป คือลดนาทีคูปองเคยเย็บได้ 40 ชิ้น ได้ 10 นาที มาเปลี่ยนเป็น 5 นาที สหภาพแรงงานฯได้ออกมาคัดค้านจนเป็นเหตุให้บริษัทฯไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จนถึงปัจจุปัน
@ เธอคนนี้ ชื่อ จิตรา คชเดช
ในขณะเดียวกันเมื่อ ปี 2549 สหภาพแรงงานได้ตั้งคณะกรรมการสหภาพแรงงานชุดใหม่มี จิตรา คชเดช เป็นประธานสหภาพแรงงานฯและเป็นพนักงานเย็บชุดว่ายน้ำและกรรมการสหภาพแรงงานทั้งหมดส่วนใหญ่เกินครึ่งมาจากส่วนผลิตชุดว่ายน้ำและในปีนี้เองเป็นปีแรกที่ประธานสหภาพมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากที่ประชุมใหญ่ ตั้งแต่กรรมการชุดใหม่ถูกเลือกตั้งมา เมื่อมีการเลิกจ้างคนงานไม่เป็นธรรม การจัดรถรับส่งที่ไม่ได้มาตรฐาน การจัดผ้ายูนิฟอร์มที่คุณภาพต่ำให้กับคนงาน การจัดงานวันครอบครัว การจัดงานไปเที่ยวต่างจังหวัดที่เป็นไปแบบไม่โปร่งใส รวมถึงการออกคำสั่งใบเตือนเร่งเป้าการผลิตสำหรับคนท้องคนงานอายุมาก และความปลอดภัยในโรงงาน
คนงานในส่วนชุดว่ายน้ำจะเริ่มหยุดทำงานล่วงเวลาและนำไปสู่การหยุดทำงานล่วงเวลาของคนงานทั้งโรงงาน และเรียกร้องให้มีการตรวจสอบทุกเรื่องอย่างเข้มงวดและสหภาพแรงงานได้ส่งกรรมการสหภาพเข้าไปดูแลทุกเรื่องอย่างใกล้ชิด มีอยู่ครั้งหนึ่งในบริษัทฯมีพนักงานเอาเหล้ามาดื่มในเวลาทำงานในวันหยุดทั้งหมดประมาณ 20 คน รวมถึงหัวหน้างานด้วย บริษัทฯเลิกจ้างคนงานกินเหล้าในโรงงาน 5 คน สั่งพักงาน 1 คน ที่เหลือไม่มีการลงโทษใดๆ
ครั้งนั้นสหภาพแรงงานเรียกร้องให้บริษัทฯไม่เลือกปฏิบัติและมีคนงานหยุดการทำงานล่วงเวลา จนเป็นเหตุให้บริษัทฯรับพนักงานที่ถูกเลิกจ้างกลับเข้าทำงานตามปกติเมื่อเดือนสิงหาคม 2549 พนักงานฝ่ายขายในกรุงเทพฯ และปริมณฑลได้พร้อมใจกันผละงาน เพื่อเรียกร้องให้บริษัทเอาผู้บริหารระดับสูงของฝ่ายขายออกไปและให้ผู้บริหารชาวสิงคโปรค์ออกมาขอโทษคนงานกรณีที่เอาเท้าเต๊ะงานให้พนักงานขายคนไทยและให้คืนค่าคอมมิชชั่นจากการขายให้เท่าเดิม
ในขณะนั้นสหภาพแรงงานได้เข้าไปร่วมเจรจาจนสามารถตกลงกันได้และในครั้งนั้นพนักงานทั้งหมดฝ่ายขายทั่วประเทศได้มาเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานทั้งหมด
@ วันเกิดเหตุที่ช่อง เอ็นบีที
ในปี 2550 ในขณะที่ประเทศไทยกำลังจัดให้มีรัฐธรรมนูญใหม่ ในขณะที่คนงานไทรอัมพ์กำลังจะยื่นข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเพื่อปากท้องของตัวเอง สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ ไม่สามารถจัดให้มีการประชุมสมาชิกได้ และมีทหารมาแจ้งว่าไม่ให้จัดการประชุม กำลังทหารมาตั้งเต๊นที่หน้าโรงงานเพื่อตรวจบัตรคนงานที่ทำโอทีและถามว่าพวกเราจะไปใหนกัน ในขณะที่ประธานสหภาพแรงงานโดนนายจ้างเรียกไปขอความร่วมมือห้ามหยุดงานเพราะ กอ.รมน. จังหวัดได้ขอร้อง เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2551 ประธานสหภาพแรงงานฯ จิตรา คชเดช ได้รับเชิญให้ไปออกรายการโทรทัศน์ ช่อง NBT เรื่องทำท้องทำแท้ง เวลา 5 ทุ่ม ในขณะที่ประเทศไทยมีความขัดแย้งทางการเมืองบริษัทฯได้ฉวยโอกาศ วันที่ 28 เมษายน เริ่มมีใบปลิวเป็นกระดาษที่ใช้แล้วของบริษัทฯออกมาโจมตีประธานสหภาพฯ มีผู้จัดการบางคนทำใบปลิวด่าประธานสหภาพฯ โดยใช้กระดาษอุปกรณ์ทุกอย่างของบริษัททั้งหมด และในใบปลิวมีข้อความให้ทำร้ายและถ่ายเอกสารคอมเม้นท้ายข่าวเวปไซต์ ผู้จัดการมาแจกคนงานวันที่ 30 เมษายน
บริษัทฯเรียกจิตรา ให้ไปชี้แจง เรื่องดังกล่าวและบอกว่าบริษัทไม่ได้มีปัญหาอะใร หลังการชี้แจงอนุญาติให้ใช้เครื่องเสียงและพื้นที่โรงอาหารของบริษัทฯ ในการชี้แจงต่อเพื่อนพนักงานแต่สมาชิกสหภาพแรงงานเข้าใจทันทีว่าเป็นการทำลายสหภาพแรงงานไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของประธาน
@ การมาถึงของระบบซับคอนแทค
วันที่ 9 มิถุนายน 2551 สหภาพแรงงานฯยื่นข้อเรียกร้องเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง บริษัทฯได้นัดการเจรจาข้อเรียกร้อง ตัวแทนของบริษัทโดยนายมาคูส คาร์บิส(Markus Kabisch)กล่าวว่า "ไทรอัมพ์เป็นบริษัทที่มีบริษัทเป็นของตัวเอง ยังเป็นบริษัทท้ายๆที่คงโรงงานไว้ ตามตารางเห็นว่าไทรอัมพ์มีต้นทุนสูง เจ้าของกิจการอาจมีมุมมองในเรื่องการจ้างซับคอนแทคแทน" การเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้ จนนำไปสู่การพิพาทแรงงาน การเจรจาวันที่ 30 มิถุนายน 2551 สหภาพแรงงานฯ ได้แจ้งบริษัทว่าจะขอมตินัดหยุดงานในวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 วันที่ 2 กรกฎาคม 2551 บริษัทฯและสหภาพแรงงานบรรลุข้อตกลงเป็นข้อตกลงที่สหภาพแรงงานฯไม่คิดว่าจะได้ฟังแบบไม่เชื่อว่าบริษัทจะให้ แต่เป็นที่พอใจของคนงานเป็นอย่างมาก วันที่ 29 กรกฎคม 2552 เป็นวันที่บริษัทฯเรียก จิตรา ประธานสหภาพแรงงาน ไปที่อาคารวานิชแล้วแจ้งว่าบริษัทได้เลิกจ้างตามคำสั่งศาล เมื่อคนงานทราบข่าว วันที่ 30 กรกฎาคม 2551 สมาชิกสหภาพแรงงานและคนงานเกือบทั้งหมดได้ผละงานออกมาประท้วงรียกร้องให้บริษัทรับประธานสหภาพกลับเข้าทำงาน สมาชิกเชื่อว่าเป็นการทำลายสหภาพแรงงาน วันที่ 12 กันยายน 2551สามารถหาข้อยุติได้ เป็นเวลา 45 วัน สหภาพแรงงานเข้าใจว่าที่สุด พนักงาน ไม่สามารถทนต่อสภาพที่ไม่มีเงินค่าเช่าบ้าน เงินให้ลูกไปโรงเรียนและเงินที่ต้องส่งให้พ่อกับแม่ที่ต่างจังหวัดได้ จึงปรึกษากันว่าทุกคนจะกลับเข้าทำงานและจะเก็บเงินเป็นค่าจ้างให้จิตรา อยู่กับสหภาพแรงงาน โดยเป็นเจ้าหน้าที่และที่ปรึกษาและจิตราไปสู้ในชั้นศาล ศาลใช้เวลาไต่สวนสี่วันและหลังจากนั้น หนึ่งอาทิตย์ศาลตัดสินว่าการใส่เสื้อที่มีข้อความไม่ยืนไม่ใช่อาชกร คิดต่างไม่ใช่อาชกรรม ไปออกทีวีนั้นเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายให้นายจ้างเลิกจ้างได้เพราะลูกจ้างไม่มีจิตวิญญาณประชาชาติไทย ในขณะที่บริษัทฯ มี CODE OF CONDUCT หลักปฎิบัติของไทรอัมพ์ได้พูดสิทธิเสรีภาพ ในการแสดงออก ความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง ได้รับมาตรฐานแรงงานไทย แต่รัฐบาล กระทรวงแรงงานไม่สามารถดำเนินการอะใรกับบริษัทฯได้อ้างอย่างเดียวว่าอยู่ในชั้นศาล
@ การลอยแพครั้งใหญ่
วันที่ 29 มิถุนายน 2552 บริษัทได้ประกาศเลิกจ้างคนงานทั้งหมด 1,959 คน คนงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตชุดว่ายน้ำทั้งหมดถูกเลิกจ้างเหลือไว้แต่พนักงานเย็บตัวอย่างชุดว่ายน้ำ ทำแพทเทิน ทำนาทีคูปอง และเหลือหัวหน้างานไว้ เพียง 8 คน คนงานในการผลิตชุดชั้นใน ถูกเลือกส่วนใหญ่ คนท้อง คนอายุใกล้เกษียณ คนป่วย คนพิการ และคนที่ลงชื่ออันดับต้นๆที่แสดงเจตนารมณกลับเข้าทำงานเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2551มีกรรมการสหภาพแรงงานถูกเลิกจ้างทั้งหมด 13 คน จากกรรมการสหภาพแรงงาน 18 คน การเลิกจ้างครั้งนี้บริษัทฯอ้างว่า "ต้องการปรับปรุงโครงสร้างค่าใช้จ่ายระยะยาวของไทรอัมพ์ทุกหน่วยงาน จุดมุ่งหมายเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรให้มีประสิทธิผล ทำให้เกิดความมั่นใจว่าธุรกิจของเรายังคงยืนหยัดอยู่ได้ด้วยความมั่นคงและยังขยายต่อได้เมื่อโอกาสมาถึง"
แกนนำสหภาพเชื่อว่า การเลิกจ้างครั้งนี้เป็นการทำลายสหภาพแรงงาน หาแหล่งค่าจ้างราคาถูก เตรียมใช้ระบบจ้างงานซับคอนแทค ที่นายทุนไม่ต้องรับผิดชอบสวัสดิการ การเรียกร้องจากสหภาพแรงงาน
ตลอดระยะเวลา 29 ปีของสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯเป็นเวลาที่ต้องต่อสู้ตลอดนับตั้งแต่วันเริ่มต้นที่พวกพี่ๆต้องหลบๆซ่อนๆกว่าจะมีองค์กรได้ ก็ต้องเริ่มต้นปกป้อง เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ ปากท้อง ความเป็นอยู่ที่ดีของคนงานต่อนายทุน ต่อรัฐบาล ไม่เคยมีสักครั้งที่ทุกอย่างจะได้มาโดยง่ายดาย แต่สหภาพยังได้บ้าง ไม่ได้บ้างถึงจะไม่ถึงเป้าหมายแต่มันเกิดจากการ "รวมตัวกัน" ของคนงานจึงทำให้มีอำนาจ พลังที่จะสามารถต่อรองได้
@ ชะตากรรมของผู้ใช้แรงงานแกนนำ
แกนนำสหภาพเชื่อว่า การเลิกจ้างครั้งนี้เป็นการทำลายสหภาพแรงงาน หาแหล่งค่าจ้างราคาถูก เตรียมใช้ระบบจ้างงานซับคอนแทค ที่นายทุนไม่ต้องรับผิดชอบสวัสดิการ การเรียกร้องจากสหภาพแรงงาน
ตลอดระยะเวลา 29 ปีของสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯเป็นเวลาที่ต้องต่อสู้ตลอดนับตั้งแต่วันเริ่มต้นที่พวกพี่ๆต้องหลบๆซ่อนๆกว่าจะมีองค์กรได้ ก็ต้องเริ่มต้นปกป้อง เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ ปากท้อง ความเป็นอยู่ที่ดีของคนงานต่อนายทุน ต่อรัฐบาล ไม่เคยมีสักครั้งที่ทุกอย่างจะได้มาโดยง่ายดาย แต่สหภาพยังได้บ้าง ไม่ได้บ้างถึงจะไม่ถึงเป้าหมายแต่มันเกิดจากการ "รวมตัวกัน" ของคนงานจึงทำให้มีอำนาจ พลังที่จะสามารถต่อรองได้
@ ชะตากรรมของผู้ใช้แรงงานแกนนำ
สหภาพแรงงานฯ กล่าวว่า สหภาพ เคยเชื่อว่า รัฐจะเป็นกลาง แต่ตลอดระยะเวลาการต่อสู้ของคนงานไทรอัมพ์ไม่เคยมีสักครั้งที่รัฐจะช่วยเหลือและเป็นกลาง มีแต่รัฐจะเข้ามาแทรกแซงเมื่อคนงานอย่างพวกเรากำลังจะได้อะใรจากนายทุนบ้าง เมื่อพวกเราถูกกระทำเราไม่เคยเห็นหน้ารัฐ
ขณะที่ กลไกสำคัญที่รัฐสร้างขึ้นมาที่คนงานส่วนใหญ่หลงเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตคนงานดีขึ้นคือระบบไตรภาคี ระบบไตรภาคีเป็นระบบที่ทำให้คนงานแบ่งแยก ช่วงชิงและไม่ได้ให้ประโยชน์กับขบวนการแรงงานแต่เป็นการเอื้อประโยชน์กับผู้นำบางคนที่สุดแล้วคนงานก็ยังถูกควบคุมมากขึ้นจากพวกเรากันเองด้วยซ้ำ
จิตรา คชเดช แกนนำสหภาพ ไทรอัมพ์ กล่าวทิ้งท้ายว่าการต่อสู้ของคนงานไม่มีวันจบสิ้น ...
ขณะที่ กลไกสำคัญที่รัฐสร้างขึ้นมาที่คนงานส่วนใหญ่หลงเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตคนงานดีขึ้นคือระบบไตรภาคี ระบบไตรภาคีเป็นระบบที่ทำให้คนงานแบ่งแยก ช่วงชิงและไม่ได้ให้ประโยชน์กับขบวนการแรงงานแต่เป็นการเอื้อประโยชน์กับผู้นำบางคนที่สุดแล้วคนงานก็ยังถูกควบคุมมากขึ้นจากพวกเรากันเองด้วยซ้ำ
จิตรา คชเดช แกนนำสหภาพ ไทรอัมพ์ กล่าวทิ้งท้ายว่าการต่อสู้ของคนงานไม่มีวันจบสิ้น ...
--------
แถลงการณ์ประณามการออกหมายจับแกนนำสหภาพแรงงานไทรอัมพ์
และการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ
พวกเรา องค์กร และบุคคลข้างล่าง ขอประณามการออกหมายจับ นายสุนทร บุญยอด น.ส.บุญรอด สายวงศ์ (เลขาธิการสหภาพแรงงานไทรอัมพ์) และ น.ส.จิตรา คชเดช (ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์) โดยสถานีตำรวจนครบาลเขตดุสิต ต่อการใช้สิทธิการชุมนุมอย่างสันติ ในวันพฤหัสที่ 27 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการชุมนุมอย่างสันติ โดยคนงานผู้หญิง ที่รวมถึงคนงานที่ท้อง และพิการ จำนวน 1,000 คน ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้าง โดยทาง พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวไอเอ็นเอ็นว่า การชุมนุมอย่างสันตินี้ เข้าข่าย การมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดหนึ่งให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ตามมาตรา 215 และมาตรา 216 ที่มีโทษหนักถึงจำคุกเป็นระยะเวลา 3 ปี
ทางพวกเรามีความเห็น ดังนี้:
1. การออกหมายจับครั้งนี้ เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเป็นการใช้อำนาจเกินกว่าเหตุ (excessive uses of force) เนื่องจากสิทธิการชุมนุมอย่างสันติ ที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ กระทำเพื่อเรียกร้องให้มีการออกมารับหนังสือโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นสิทธิเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครอง ภายใต้รัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกภาคี
2. การชุมนุมที่เกิดขึ้น เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมที่มีความชอบธรรม เนื่องจากเป็นการชุมนุมของคนงานที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้าง จำนวน 1,959 คน และเป็นการชุมนุมที่สืบเนื่องมาจาก การยื่นหนังสือต่อรองเลขาธิการฝ่ายการเมือง ประจำทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2552 เพื่อติดตามว่า รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างไรไปแล้วบ้าง
3. การให้สัมภาษณ์ของ พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในหนังสือพิมพ์ไอเอ็นเอ็น ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงแต่อย่างใด เนื่องจากการชุมนุมของสหภาพแรงงานฯ ทั้งหน้าทำเนียบรัฐบาล และรัฐสภา นั้น ได้เป็นไปตามกรอบสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสันติ ตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศได้รับรองไว้ และไม่ได้มีการปิดถนนหน้าทำเนียบรัฐบาล ตามที่พล.ต.ท.วรพงษ์ได้กล่าวอ้างแต่อย่างใด แต่การที่ถนนหน้ารัฐสภาปิดเกิดขึ้น เนื่องจากการไร้ความรับผิดชอบโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในการอำนวยความสะดวก ทำให้มีรถวิ่งสวนกับผู้ชุมนุมมากมาย และไม่ได้มีการปิดรัฐสภาแต่อย่างใด โดยรถยนต์และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็สามารถเข้าออกได้อย่างไม่มีปัญหา
4. การตอบโต้การชุมนุมครั้งนี้ โดย พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ในการนำเครื่องขยายเสียงระดับไกล (LRAD: Long Range Acoustic Device) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้โดยทหารสหรัฐในสงครามอิรัก มาเปิดช่วงที่คนงานหญิงได้ชุมนุมกันอย่างสันติ และในช่วงที่กำลังประสานงานกับ นายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน เข้ามารับหนังสือ ถือเป็นการกระทำที่ประสงค์จะให้มีการสลายการชุมนุม อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยตรง เนื่องจากได้สร้างความเจ็บปวดในระบบหูให้กับคนงานจำนวนมาก โดยเฉพาะคนงานที่มีอายุมาก ซึ่งองค์กรสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศได้ให้ความเห็นว่า เครื่องขยายเสียงนี้สามารถทำลายระบบหู จนทำให้ไม่ได้ยินไปตลอดชีวิตได้ หากมีการเปิดในระยะใกล้กับผู้ชุมนุม ซึ่งในกรณีนี้มีการเปิดใกล้กับผู้ชุมนุมมาก (ห่างจากผู้ชุมนุมในระยะ 1-2 เมตรเท่านั้น) อีกทั้ง การดำเนินการดังกล่าวไม่มีเหตุใดๆที่จะนำเครื่องขยายเสียงมาดำเนินการแต่อย่างใดมาใช้ เนื่องจากดังที่กล่าวแล้วข้างต้นว่า ผู้ชุมนุมได้ชุมนุมกันอย่างสันติโดยชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจใดๆดำเนินการเพื่อให้มีการสลายการชุมนุม
สืบเนื่องจากความเห็นของพวกเรา เราจึงมีข้อเรียกร้อง ดังนี้:
1. เราขอเรียกร้องให้ถอนการออกหมายจับที่ไม่เป็นธรรม กับผู้นำสหภาพแรงงาน โดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องไม่มีการจับกุมตามหมายจับ และดำเนินเพื่อร้องขอกับศาลให้มีการถอนหมายจับโดยทันที
2. เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้องของสหภาพ ที่ได้ยื่นให้รองเลขาธิการฝ่ายการเมืองโดยเร็วที่สุด
3. เราขอเรียกร้องให้รัฐบาล และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน นำโดย พล.ต.ต วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 โดยทางตำรวจได้เปิดเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดังมาก ได้รับผลกระทบต่อคนงานผู้หญิง คนงานพิการ และอายุมากที่ได้นั่งฟังปราศรัยหน้าทำเนียบรัฐบาล ขณะที่ตัวแทนของสหภาพกำลังเข้าไปยื่นหนังสือกับนายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ประจำรัฐสภา และการขอออกหมายจับผู้นำสหภาพ โดย พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ว่า เป็นการละเมิดสิทธิทางพลเมืองและทางการเมือง รวมถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
31 สิงหาคม 2552
สมัชชาคนจน
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.)
ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย(YPD)
กลุ่มประกายไฟ
กลุ่มรองเท้าแตะ
มูลนิธิศักยภาพชุมชน
สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส
กลุ่มประสานงานกรรมกร
ศิโรตน์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระทางด้านรัฐศาสตร์
อังคณา นีละไพจิตร ผู้เขียนรายงานประเทศตามกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองฉบับที่สอง
สมบัติ บุญงามอนงค์ มูลนิธิกระจกเงา
เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ ฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
ขวัญรวี วังอุดม นักศึกษาปริญญาโท คณะสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา สถาบันสังคมศึกษา ประเทศ เนเธอร์แลนด์
อดิศร เกิดมงคล นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
เอกรินทร์ ต่วนศิริ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ นักกิจกรรมทางสิทธิมนุษยชน
ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความพิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักแปลอิสระ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย นักศึกษาปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ / กลุ่มประกายไฟ
ชัยธวัช ตุลาฑล นักกิจกรรมทางสังคม
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ นักกิจกรรมทางสังคม
กานต์ ยืนยง นักกิจกรรมทางสังคม
ศิริภาส ยมจินดา ประชาชน
สุณัย ผาสุข นักสิทธิมนุษยชน
อุเชนทร์ เชียงเสน นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์ นักศึกษาโรงเรียนแม่น้ำโขง Mekong School-EarthRights International
วิภา ดาวมณี กรรมการเครือข่ายเดือนตุลา
วิทยา อาภรณ์
ปฤณ เทพนรินทร์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พัชณีย์ คำหนัก องค์กรเลี้ยวซ้าย
ยุพิน อิ่มดำ องค์กรเลี้ยวซ้าย
สมาภรณ์ แก้วเกลี้ยง สมัชชาสังคมก้าวหน้า
คมลักษณ์ ไชยยะ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
ทัตธนนันต์ นวลมณี สมัชชาสังคมก้าวหน้า
รสา หิรัญฤทธิ์ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
กมล ศุภวงศ์ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
บุญธิดา อาจารยางกูร สมัชชาสังคมก้าวหน้า
ชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
อุษากร เหมือนประยูร สมัชชาสังคมก้าวหน้า
สุจีรา เพ็งญา สมัชชาสังคมก้าวหน้า
ไชยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
สาธิต เลิศโชติรัตน์ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
กีรประวัติ คล่องวัชรชัย สมัชชาสังคมก้าวหน้า
ชวลีย์ รัตนววิไลสกุล สมัชชาสังคมก้าวหน้า
เขมนิจ เสนาจักร สมัชชาสังคมก้าวหน้า
นรสิงค์ ศรีวิโรจน์ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
กวิน ชุติมา นักกิจกรรม องค์กรพัฒนาเอกชน
เขมนิจ เสนาจักร ประชาชน
บุหงา เสนาจักร ประชาชน
ปรินดา วานิชสันต์ ประชาชน
ชวลีย์ รัตนวิไลสกุล ประชาชน
ณัฐรัช ฐาปโนสถ มูลนิธิกระจกเงา
เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข มูลนิธิกระจกเงา
นายชาตวิทย์ มงคลแสน นายกสมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย
ว่าที่ ร.อ.ภาดร ผลาพิบูลย์
นางกสิณา สริจันทร์
พรมมา ภูมิพันธ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ
ศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา ม.มหิดล
รศ.กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล
พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬา
ปฐมพร ศรีมันตะ ประชาชนและนักกิจกรรมธรรมดา
นายสุรพล ปัญญาวชิระ
สุชาติ เศรษฐมาลินี สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล
อรรณพ นิพิทเมธาวี Webmaster ThaiNGO.org
ใจ อึ๊งภากรณ์
วิทยากร บุญเรือง ประชาชน
ครรชิต พัฒนโภคะ กลุ่มเลี้ยวซ้าย
นายประสงค์ สุวรรณโฉม
นส.นิษฐกานต์ บุญศาสตร์
นส.จิรฐา ขอสูงเนิน
อรรคพล สาตุ้ม ศิลปินอิสระ
นายบุญยืน สุขใหม่ ประธานสหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชาไอทีเอฟ
อานนท์ ชวาลาวัณย์ นักศึกษาปริญญาโท Jawaharlal Nehru University New Delhi
ประดิษฐ์ ดาวมณี ประชาชน
พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ ประชาชน
นที สรวารี นายกสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน
ภัควดี วีระภาสพงษ์ ประชาชน
อานนท์ อุณหะสูต นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บัณฑิต เอื้อวัฒนานุกูล ประชาชน
อัฐธาดา ชมสุวรรณ แรงงานไทยในต่างแดน
น.ส. ชญานี ขุนกัน
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา ร้านหนัง(สือ)๒๕๒๑
ภูมิวัฒน์ นุกิจ นักธุรกิจเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม
นครินทร์ วิศิษฎ์สิน
ธนกร มาณะวิท ประชาชน
พริสร์ สมุทรสาร
ฉันทนา วินิจจะกูล นักทำหนังสืออิสระ
วัชรพล ศุภจักรวัฒนา อาจารย์ประจำสาขารัฐศาสตร์เเละรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร
ปาณัสม์ชฎา ธนภาคิน อาจารย์ประจำคณะบริหารรัฐกิจ ม.ฟาร์อีสเทิร์น
พันโท แพทย์หญิง กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี นายกสมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ/ประธานเครือข่ายพ่อแม่เยาวชนเพื่อการปฏิรูปการศึกษา/สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง
สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
อนุชา มิตรสุวรรณ อิสรชนผู้รักความเป็นธรรม/เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
สุภาภรณ์ มาลัยลอย ประชาชนผู้รักความเป็นธรรมและสิ่งแวดล้อม/เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.)
ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย(YPD)
กลุ่มประกายไฟ
กลุ่มรองเท้าแตะ
มูลนิธิศักยภาพชุมชน
สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส
กลุ่มประสานงานกรรมกร
ศิโรตน์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระทางด้านรัฐศาสตร์
อังคณา นีละไพจิตร ผู้เขียนรายงานประเทศตามกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองฉบับที่สอง
สมบัติ บุญงามอนงค์ มูลนิธิกระจกเงา
เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ ฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
ขวัญรวี วังอุดม นักศึกษาปริญญาโท คณะสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา สถาบันสังคมศึกษา ประเทศ เนเธอร์แลนด์
อดิศร เกิดมงคล นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
เอกรินทร์ ต่วนศิริ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ นักกิจกรรมทางสิทธิมนุษยชน
ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความพิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักแปลอิสระ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย นักศึกษาปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ / กลุ่มประกายไฟ
ชัยธวัช ตุลาฑล นักกิจกรรมทางสังคม
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ นักกิจกรรมทางสังคม
กานต์ ยืนยง นักกิจกรรมทางสังคม
ศิริภาส ยมจินดา ประชาชน
สุณัย ผาสุข นักสิทธิมนุษยชน
อุเชนทร์ เชียงเสน นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์ นักศึกษาโรงเรียนแม่น้ำโขง Mekong School-EarthRights International
วิภา ดาวมณี กรรมการเครือข่ายเดือนตุลา
วิทยา อาภรณ์
ปฤณ เทพนรินทร์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พัชณีย์ คำหนัก องค์กรเลี้ยวซ้าย
ยุพิน อิ่มดำ องค์กรเลี้ยวซ้าย
สมาภรณ์ แก้วเกลี้ยง สมัชชาสังคมก้าวหน้า
คมลักษณ์ ไชยยะ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
ทัตธนนันต์ นวลมณี สมัชชาสังคมก้าวหน้า
รสา หิรัญฤทธิ์ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
กมล ศุภวงศ์ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
บุญธิดา อาจารยางกูร สมัชชาสังคมก้าวหน้า
ชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
อุษากร เหมือนประยูร สมัชชาสังคมก้าวหน้า
สุจีรา เพ็งญา สมัชชาสังคมก้าวหน้า
ไชยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
สาธิต เลิศโชติรัตน์ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
กีรประวัติ คล่องวัชรชัย สมัชชาสังคมก้าวหน้า
ชวลีย์ รัตนววิไลสกุล สมัชชาสังคมก้าวหน้า
เขมนิจ เสนาจักร สมัชชาสังคมก้าวหน้า
นรสิงค์ ศรีวิโรจน์ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
กวิน ชุติมา นักกิจกรรม องค์กรพัฒนาเอกชน
เขมนิจ เสนาจักร ประชาชน
บุหงา เสนาจักร ประชาชน
ปรินดา วานิชสันต์ ประชาชน
ชวลีย์ รัตนวิไลสกุล ประชาชน
ณัฐรัช ฐาปโนสถ มูลนิธิกระจกเงา
เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข มูลนิธิกระจกเงา
นายชาตวิทย์ มงคลแสน นายกสมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย
ว่าที่ ร.อ.ภาดร ผลาพิบูลย์
นางกสิณา สริจันทร์
พรมมา ภูมิพันธ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ
ศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา ม.มหิดล
รศ.กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล
พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬา
ปฐมพร ศรีมันตะ ประชาชนและนักกิจกรรมธรรมดา
นายสุรพล ปัญญาวชิระ
สุชาติ เศรษฐมาลินี สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล
อรรณพ นิพิทเมธาวี Webmaster ThaiNGO.org
ใจ อึ๊งภากรณ์
วิทยากร บุญเรือง ประชาชน
ครรชิต พัฒนโภคะ กลุ่มเลี้ยวซ้าย
นายประสงค์ สุวรรณโฉม
นส.นิษฐกานต์ บุญศาสตร์
นส.จิรฐา ขอสูงเนิน
อรรคพล สาตุ้ม ศิลปินอิสระ
นายบุญยืน สุขใหม่ ประธานสหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชาไอทีเอฟ
อานนท์ ชวาลาวัณย์ นักศึกษาปริญญาโท Jawaharlal Nehru University New Delhi
ประดิษฐ์ ดาวมณี ประชาชน
พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ ประชาชน
นที สรวารี นายกสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน
ภัควดี วีระภาสพงษ์ ประชาชน
อานนท์ อุณหะสูต นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บัณฑิต เอื้อวัฒนานุกูล ประชาชน
อัฐธาดา ชมสุวรรณ แรงงานไทยในต่างแดน
น.ส. ชญานี ขุนกัน
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา ร้านหนัง(สือ)๒๕๒๑
ภูมิวัฒน์ นุกิจ นักธุรกิจเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม
นครินทร์ วิศิษฎ์สิน
ธนกร มาณะวิท ประชาชน
พริสร์ สมุทรสาร
ฉันทนา วินิจจะกูล นักทำหนังสืออิสระ
วัชรพล ศุภจักรวัฒนา อาจารย์ประจำสาขารัฐศาสตร์เเละรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร
ปาณัสม์ชฎา ธนภาคิน อาจารย์ประจำคณะบริหารรัฐกิจ ม.ฟาร์อีสเทิร์น
พันโท แพทย์หญิง กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี นายกสมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ/ประธานเครือข่ายพ่อแม่เยาวชนเพื่อการปฏิรูปการศึกษา/สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง
สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
อนุชา มิตรสุวรรณ อิสรชนผู้รักความเป็นธรรม/เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
สุภาภรณ์ มาลัยลอย ประชาชนผู้รักความเป็นธรรมและสิ่งแวดล้อม/เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน