Google
 

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Triumph workers call on government for help








Sat, 08/08/2009 - 06:00

On Aug 6, about 300 members of the Triumph Labour Union rallied at Government House to petition the Prime Minister and call on the government to intervene in their dispute with the company which has laid off 1,959 workers.



Sutham Limsuwankasem, Deputy Secretary-General of the Prime Minister, allowed 9 representatives of the workers to meet him inside the compound, and received the petition on behalf of the PM.



My PM


Jitra Kotchadej, advisor to the union, said that they chose to come on the day the PM was holding a press conference on the government’s achievements in its 6 months in office, because they wanted to show that workers were still being laid off, contrary to the PM’s claim that the layoffs would be delayed.

Almost 2,000 workers have been laid off (in the Triumph case), but the PM has never addressed the issue or given help. So far there has been no progress on the employer’s side. We will, however, have negotiations with the employer on Aug 7, Jitra said.

‘The restructuring of the company [Body Fashion] should not have resulted in the burden being thrust upon the workers who have been making profits for the company for 20-30 years,’ she said.

The labor is critical , PM Where are you ?


The workers demanded the company cancel the layoffs and reinstate all workers, and the company and the government pay the laid off workers until the dispute is resolved. In resolving the dispute, the labour union must be consulted. And the government must ensure that there will be no more layoffs.

The government must scrap neoliberal policies which result in subcontracting, temporary employment, cheap labour and outsourcing, and stop free trade which forbids the formation of labour unions and denies the workers’ right to strike.

The government must also encourage the formation of labour unions in factories which receive support from the Board of Investment (BOI), and come up with measures to help workers who have debts in the formal and informal financial sectors.




Jitra said that the Triumph Labour Union in Thailand planned to fight alongside its counterpart in the Philippines. She heard that although Triumph in the Philippines offered much higher compensation than here in Thailand, the Filipino workers still resisted, because they preferred to have jobs.







Bunrod Saiwong, Secretary-General of the Triumph Labour Union, said that the PM’s claim to the press that the economy had picked up and the people were happy because they had jobs was not true, as workers were being laid off.

The union leader raised the question as to whether the PM did not dare come out to meet the workers himself because some in the Vejjajiva family held shares in Triumph.

Between wait PM, The workers have a meal on the road outside Government House






Katekaew Meesri, Deputy Secretary-General of the Federation of Textile Unions in Thailand, said that employers had laid off workers every 3 months, claiming economic problems, but the government had yet to have a clear policy on this.

Between wait PM, The workers confront both of the sunlight and the rain , all day, But
no meet PM





According to labour activist Tewarit Maneechai, during January-May, 84,876 labourers in the formal sector were laid off. So the PM has to show his deeds, rather than just talk, he said.




PM send the police comes to threaten about 50 persons


And car cages and the amplifier microphone are high-tensioning



Edit the some part from
http://www.prachatai.com/english/node/1346

แถลงการณ์เรียกร้องความเป็นธรรม


แรงงานวิกกฤต อภิสิทธ์อยู่ไหน ????????????? “นโยบายรัฐบาล"อภิสิทธิ์ " ว่าด้วยมาตรการเร่งด่วน 1 ปี ความสุขของคนไทยคือเป้าหมายของรัฐ” นี่คือผลงานชิ้นโบว์แดงของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่ปล่อยให้นายทุนยักษ์ใหญ่ชุดชั้นใน ชุดว่ายน้ำไทรอัมพ์ เลิกจ้างคนงานที่สมุทรปราการ 1,959 คน ซึ่งมีแต่คนงานอายุมาก คนท้อง คนป่วย คนพิการ และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานแล้วคนไทยจะมีความสุขได้อย่างใร? และยังไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาจากรัฐบาล เรียนพี่น้องประชาชนทุกท่าน

พวกเราสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯเป็นคนงานบริษัทบอดี้แฟชั่น(ประเทศไทย)จำกัดซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลเป็นบริษัทฯที่มีผู้ถือร่วมหุ้นคนไทยชื่อนางเลียวนี่ เดซี่ เวชชาชีวะ ร่วมด้วย ตั้งอยู่ที่ 393 หมู่ 17 นิคมอุตสาหกรรมเมืองใหม่บางพลี ต. บางเสาธง อ. บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ประกอบกิจการอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ผลิต ชุดชั้นใน และชุดว่ายน้ำ ยี่ห้อไทรอัมพ์ วาเลเซีย สล๊อคกี้ AMO ,HOM บริษัทฯได้มีการประกาศเลิกจ้างคนงานเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 ทั้งหมด 1,959 คน เป็นจำนวน 50% ของคนงานทั้งหมดที่ โรงงานบางพลีให้มีผลการพ้นสภาพการเป็นคนงานของบริษัทบอดี้ฯในวันที่ 31 สิงหาคม 2552 และคนงานที่ถูกเลิกจ้างเป็นกรรมการสหภาพแรงงานฯถึง 13 คนจากกรรมการสหภาพแรงงานทั้งหมด 19 คน เป็น มีคนท้อง คนงานอายุมาก คนป่วย คนพิการ และคนงานที่ทำงานให้บริษัทฯมาอย่างยาวนานถึง 20-30 ปี และส่วนใหญ่เป็นคนงานหญิง ในการเลิกจ้างครั้งนี้บริษัทฯได้อ้างว่า “ต้องการปรับปรุงโครงสร้างค่าใช้จ่ายระยะยาวของไทรอัมพ์ทุกหน่วยงาน จุดมุ่งหมายเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรให้มีประสิทธิผล ทำให้เกิดความมั่นใจว่าธุรกิจของเรายังคงยืนหยัดอยู่ได้ด้วยความมั่นคงและยังขยายต่อได้เมื่อโอกาสมาถึง” ในขณะที่มีการขยายกำลังการผลิตที่โรงงานที่นครสวรรค์ ด้วยการซื้อที่ดินและสร้างโรงงานที่ได้มาตรฐานรองรับการผลิตได้เต็มที่ได้ถึง 2,000 คน ในปีที่ผ่านมา โดยได้รับการสนับสนุนการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ได้รับการส่งเสริมการลงทุน 75.5 ล้าน ในปัจจุปันโรงงานที่นครสวรรค์มีคนงานถึง 1,000 กว่าคน แต่ไม่มีสหภาพแรงงาน ซึ่งถือเป็นองค์กรพื้นฐานของคนงาน และในขณะนี้ยังมีข่าวลือมากมายว่าบริษัทฯจะมีการเลิกจ้างคนงานชุด 2 อีกทำให้คนงานเกิดความไม่มั่นคงในการทำงานอีกต่อไป

สหภาพแรงงานฯเชื่อว่าการเลิกจ้างครั้งนี้ เป็นการย้ายฐานการผลิตเพื่อหาแหล่งการดำเนินกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษี และทำลายสหภาพแรงงานและเตรียมเข้าสู่การจ้างานซับคอนแทคที่เป็นการจ้างงานแบบทาส สหภาพแรงงานฯ จึงเดินทางจากสมุทรปราการมาขอเรียกร้องความเป็นธรรมต่อ “รัฐบาล ภายใต้การนำของ นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ การกระทำดังกล่าวของบริษัทฯเป็นการกระทำที่ไม่เคารพในสิทธิมนุษยชน ไม่ทำตามนโยบายของรัฐบาล เป็นการกระทำที่เห็นคนงานเป็นเพียงสินค้าเมื่อรีดแรงงานหมด ก็โยนทิ้งให้คนงานเหล่านั้นต้องเผชิญกับความยากจนข้นแค้น เผชิญกับการใร้ที่อยู่อาศัย กับการที่ลูกไม่สามารถได้เรียนหนังสือ และพ่อแม่ที่แก่เฒ่าจะไม่มีเงินค่ารถไปหาหมอ และเงินค่าดำรงชีพในแต่ละวัน และคนงานกำลังจะถูกอายัดเงินค่าชดเชยจากกองบังคับคดี คนงานจะกลายเป็นคนว่างงานที่ไม่มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อีกต่อไป”

ในฐานะที่ท่านรัฐบาลอภิสิทธ์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายรัฐบาล ต่อรัฐสภาในวันที่ 30 ธันวาคม 2551 รัฐบาลถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ การสร้างงานและสร้างรายได้ การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม บังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล

นี่คือนโยบายที่เลิศหรูของรัฐบาลที่คนงานไม่เคยได้รับสิ่งเหล่านี้ พวกเราขอให้รัฐบาลได้เข้ามาดูแลอย่างเร่งด่วนและต้องทำให้นโยบายเป็นจริงไม่ใช่แค่โฆษณาเพื่อการสร้างภาพลักษณ์ของรัฐบาลเท่านั้น..
ในขณะนี้คนงานทั้งหมดชุมนุมอยู่ที่ ข้างโรงงานเพื่อรอความเป็นธรรม

ทุกท่านสนับสนุนการต่อสู้ได้ติดต่อ เบอร์โทร 084-5382016เบอร์โทร 087-0206672 Email: ning2475@hotmail.com


สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย 6 สิงหาคม 2552

หนังสือถึงนายก

สทอท.ที่ 0070/2552
6 สิงหาคม 2552

เรื่อง ขอให้รัฐบาลได้เข้ามาแก้ปัญหากรณีเลิกจ้างคนงานบริษัทบอดี้แฟชั่น(ประเทศไทย)จำกัด 1,959 คน และให้หลักประกันความมั่นคงกับคนงานที่เหลือในโรงงานอีก 2,000กว่าคน

เรียน พณฯท่านนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ

ตามที่บริษัทบอดี้แฟชั่น(ประเทศไทย)จำกัดซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลที่มีผู้ถือร่วมหุ้นคนไทยชื่อนางเลียวนี่ เดซี่ เวชชาชีวะ ร่วมด้วย ตั้งอยู่ที่ 393 หมู่ 17 นิคมอุตสาหกรรมเมืองใหม่บางพลี ต. บางเสาธง อ. บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ประกอบกิจการอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ผลิต ชุดชั้นใน และชุดว่ายน้ำ ยี่ห้อไทรอัมพ์ วาเลเซีย สล๊อคกี้ AMO ,HOM เป็นบริษัทฯที่มีเจ้าของเป็นคนสัญชาติเยอรมันและสวิสเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่รับรองยอมรับแนวปฏิบัติของบรรษัทข้ามชาติ (OECD Guidelines) ตามหลัก OECD Guidelines for MNEs และเป็นบริษัทฯที่มี CODE OF CONDUCT ของกลุ่มบริษัทไทรอัมพ์ฯ ซึ่งมุ่งเน้นถึงความสำคัญของการปกป้องสิทธิมนุษยชน ดังที่กล่าวไว้ในปฎิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (the “General Declaration Of Human Rights”) และพร้อมใจปฎิบัติตามข้อตกลงที่เกี่ยวข้องขององค์กรแรงระหว่างประเทศ ( ILO) และข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ขององค์การสหประชาชาติ ในด้านกฎระเบียบและการพัฒนาการปฎิบัติงานและสภาวะทางเศรษฐกิจและได้รับมาตรฐานแรงงานไทยจากกระทรวงแรงงาน

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552บริษัทฯได้มีการประกาศเลิกจ้างคนงาน ทั้งหมด 1,959 คน เป็นจำนวน 50% ของคนงานทั้งหมดที่ โรงงานบางพลีให้มีผลการพ้นสภาพการเป็นคนงานของบริษัทบอดี้ฯในวันที่ 31สิงหาคม 2552 และคนงานที่ถูกเลิกจ้างเป็นคนงานที่ทำงานให้บริษัทฯมาอย่างยาวนาน 20-30 ปี และมีอายุมาก มีคนท้อง คนป่วย คนพิการและเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯเป็นกรรมการสหภาพแรงงานฯถึง 13 คนจากกรรมการสหภาพแรงงานทั้งหมด 19 คน

ในการเลิกจ้างครั้งนี้บริษัทฯได้อ้างว่า “ต้องการปรับปรุงโครงสร้างค่าใช้จ่ายระยะยาวของไทรอัมพ์ทุกหน่วยงาน จุดมุ่งหมายเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรให้มีประสิทธิผล ทำให้เกิดความมั่นใจว่าธุรกิจของเรายังคงยืนหยัดอยู่ได้ด้วยความมั่นคงและยังขยายต่อได้เมื่อโอกาสมาถึง” ในขณะที่มีการขยายกำลังการผลิตที่โรงงานที่นครสวรรค์ ด้วยการซื้อที่ดินและสร้างโรงงานที่ได้มาตรฐานรองรับการผลิตได้เต็มที่ได้ถึง 2,000 คน ในปีที่ผ่านมา โดยได้รับการสนับสนุนการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ได้รับการส่งเสริมการลงทุน 75.5 ล้าน ในปัจจุปันโรงงานที่นครสวรรค์มีคนงานถึง 1,000 กว่าคน แต่ไม่มีสหภาพแรงงาน ซึ่งถือเป็นองค์กรพื้นฐานของคนงาน และในขณะนี้ยังมีข่าวลือมากมายว่าบริษัทฯจะมีการเลิกจ้างคนงานชุด 2 อีกทำให้คนงานเกิดความไม่มั่นคงในการทำงานอีกต่อไป

สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯจึงขอให้รัฐบาลได้เข้ามาช่วยเหลือในการเลิกจ้างดังกล่าว เพราะเหตุผลในการเลิกจ้างในครั้งนี้ยังไม่สร้างความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจ พวกเราเชื่อว่าการเลิกจ้างครั้งนี้เป็นการทำลายสหภาพแรงงาน ย้ายฐานการผลิตหาแหล่งค่าจ้างราคาถูก เป็นการเลิกจ้างคนงานที่ทำงานให้บริษัทฯมาอย่างยาวนานอายุมาก คนท้อง และคนป่วย พิการ และเป็นการเลิกจ้างในขณะที่ข้อตกลงสถาพการจ้างมีผลบังคับใช้ การปรับปรุงองค์กรให้มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างประสิทธิผลตามที่บริษัทฯกล่าวอ้างนั้นมีวิธีการที่สร้างสรรค์หลากหลายวิธีมากกว่าการทำลายสหภาพแรงงานด้วยการเลิกจ้างคนงาน 1,959 คน ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้บริษัทก็ไม่ได้มีมาตราการอื่นที่จะสร้างประสิทธิภาพด้วยการปรับปรุงโครงสร้างค่าใช้จ่ายอย่างชัดเจนเลย สหภาพแรงงานฯเชื่อว่าการเลิกจ้างครั้งนี้ เป็นการย้ายฐานการผลิตเพื่อหาแหล่งการดำเนินกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษี และทำลายสหภาพแรงงานและเตรียมเข้าสู่การจ้างานซับคอนแทคที่เป็นการจ้างงานแบบทาส สหภาพแรงงานฯ จึงเดินทางจากสมุทรปราการมาขอเรียกร้องความเป็นธรรมต่อ “รัฐบาล ภายใต้การนำของ นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ การกระทำดังกล่าวของบริษัทฯเป็นการกระทำที่ไม่เคารพในสิทธิมนุษยชน ไม่ทำตามนโยบายของรัฐบาล เป็นการกระทำที่เห็นคนงานเป็นเพียงสินค้าเมื่อรีดแรงงานหมด ก็โยนทิ้งให้คนงานเหล่านั้นต้องเผชิญกับความยากจนข้นแค้น เผชิญกับการใร้ที่อยู่อาศัย กับการที่ลูกไม่สามารถได้เรียนหนังสือ และพ่อแม่ที่แก่เฒ่าจะไม่มีเงินค่ารถไปหาหมอ และเงินค่าดำรงชีพในแต่ละวัน และคนงานกำลังจะถูกอายัดเงินค่าชดเชยจากกองบังคับคดี คนงานจะกลายเป็นคนว่างงานที่ไม่มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อีกต่อไป”

ในฐานะที่ท่านรัฐบาลอภิสิทธ์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายรัฐบาล ต่อรัฐสภาในวันที่ 30 ธันวาคม 2551 รัฐบาลถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ การสร้างงานและสร้างรายได้ การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม บังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล
ดังนั้นสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯจึงขอให้รัฐบาลปฎิบัติตามนโยบายเร่งด่วนช่วยเหลือประชาชนและให้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานดังนี้


1. ให้บริษัทฯยกเลิกประกาศการเลิกจ้างคนงานทั้งหมดและให้รับคนงานกลับเข้าทำงานตามปกติและให้ปฎิบัติตามกฏหมายพรบ.แรงงานสัมพันธ์ปี 2518

2. ให้บริษัทฯและรัฐบาลจ่ายสวัสดิการและค่าจ้างให้กับคนงานที่ถูกเลิกจ้างจนกว่าข้อพิพาทกับบริษัทฯจะยุติ การแก้ปัญหาต้องได้รับการปรึกษาหารืออย่างเป็นทางการกับสหภาพแรงงานฯ


3. รัฐบาลต้องสร้างความมั่นใจให้กับคนงานที่ทำงานในโรงงานว่าบริษัทฯจะไม่มีการเลิกจ้างอีกและไม่ใช้มาตรา 75 ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กับคนงาน


4. รัฐบาลต้องหยุดนโยบายเสรีนิยมใหม่ เช่นนโยบายการจ้างงานเหมาค่าแรง การจ้างงานชั่วคราว การจ้างงานค่าจ้างราคาถูก การจ้างงานซับคอนแทค หยุดเขตการค้าเสรีที่มีกฎระเบียบห้ามตั้งสหภาพแรงงานและยกเลิกสิทธิการนัดหยุดงาน


5. รัฐบาลต้องสนับสนุนให้มีสหภาพแรงงานในโรงงานที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก(BOI)และโรงงานที่ได้รับมาตรฐานแรงงานไทยและต้องยุติการสนับสนุนเรื่องไม่เก็บภาษีต่อบริษัทฯและหันมายกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่มกับประชาชน


6. รัฐบาลต้องหามาตราการช่วยเหลือคนงานที่เป็นหนี้นอกระบบและในระบบและคนงานถูกอายัดค่าจ้างค่าชดเชยค่าล่วงเวลาจากกองบังคับคดี

ฉะนั้นสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านเข้ามาแก้ปัญหาเพื่อให้บริษัทได้ปฎิบัติตามกฎหมายรวมถึงยกเลิกประกาศและแผนการเลิกจ้างทั้งหมดที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมดและให้เป็นตามหลักนโยบายของรัฐบาล มิใช่แถลงมาเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของรัฐบาลเท่านั้น
จึงเรียนมาเพื่อให้ท่านดำเนินการ

จึงขอขอบคุณมา ณ. โอกาสนี้

ขอแสดงความนับถือ


นางสาวบุญรอด สายวงศ์
เลขาธิการสหภาพแรงงาน