Google
 

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

วัฒนธรรมชูป้าย ในการเมืองไทย

การชูป้ายประท้วงและแสดงความคิดเห็นต่อนายกรัฐมนตรีอาจมีจุดเริ่มต้นจากการชูป้ายสนับสนุนพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

 



การชูป้ายประท้วง และแสดงความคิดเห็นต่อนายกรัฐมนตรีในช่วงนี้  อาจมีจุดเริ่มต้นจากการชูป้ายสนับสนุนพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สมัยเป็นนายกรัฐมนตรี  ซึ่งที่ผ่านมา มีนายกรัฐมนตรีหลายคนแล้วที่ถูกการประท้วงขับไล่ของประชาชน ซึ่งพวกเขายืนยันว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
ในฐานะผู้ใช้แรงงาน วิทยากรในงานวันสตรีสากล  และผู้ได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี  ทำให้นางสาวจิตร คชเดช ผู้นำแรงงานสตรีของสหภาพไทรอัมพ์ ตัดสินใจชูป้ายแบบฉับพลัน เพื่อบอกความรู้สึกและตั้งคำถามต่อนายกรัฐมนตรี ถึงการกระทำที่ผ่านมา
การชูป้ายในลักษณะนี้  เป็นครั้งแรกของจิตรา  เธอยืนยันว่า ไม่ได้ถูกจ้างวานจากกลุ่มทุนหรือนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม แต่เป็นความรู้สึกอัดอั้นตันใจที่ต้องการบอกผู้นำประเทศ
ซึ่งขณะชูป้าย เธอบอกว่า มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของนายกรัฐมนตรีและผู้จัดงานมาขัดขวางและพยายามเจรจาให้ยุติการกระทำ


วันรุ่งขึ้น ในงานแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ  นายอภิสิทธิ์ ยังถูกประชาชนอีกราย ตะโกนว่าขอใช้สิทธิ์ ประชาชน และชูป้าย เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีกลับใจ  ซึ่งเธอถูกควบคุมตัวทันที 


การชูป้ายทางการเมืองไทย เกิดขึ้นครั้งแรกในยุคพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในครั้งนั้น การชูป้าย เป็นข้อความสนับสนุนและให้กำลังใจเช่น น้ำเป็นของปลา  ฟ้าเป็นของนก นายกฯเป็นของป๋า


ในขณะที่ป้ายประท้วงแบบเริ่มเกิดขึ้นในช่วง พันตำรวจโททักษิณ  ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ในปี 2549 เช่นเดียวกับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนายสมัคร สุนทรเวช  ที่เคยถูกชูป้ายประท้วง ตะโกนขับไล่ จนกระทั่งปาสิ่งของ หรือแม้กระทั่งนายสมัคร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเดินทางไปรักษาโรคมะเร็งตับ ที่สหรัฐอเมริกา ยังมีผู้ถือป้ายต่อว่าเขาและครอบครัวถึงในสนามบิน
10 มีนาคม 2554 เวลา 09:43 น.