Google
 

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แถลงการณ์คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

แถลงการณ์คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
Wed, 2009-09-16 14:40

แถลงการณ์คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ฉบับที่ ๘/๒๕๕๒
เรื่อง ข้อเสนอเร่งด่วนในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจและสิทธิแรงงาน

เป็นที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน ชาวนาชาวไร่ คนจนเมือง สำหรับผู้ใช้แรงงาน ผลพวงจากวิกฤติการณ์เศรษฐกิจได้ส่งผลต่อการเลิกจ้าง การลดเวลาการทำงาน การใช้มาตรา ๗๕ ในการจ้างงาน นายจ้างที่ไร้มนุษยธรรมได้ฉวยวิกฤตการณ์เศรษฐกิจนี้เป็นข้ออ้างของเอารัดเอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน ภายใต้เป้าหมายเดียวคือการคุกคามสหภาพแรงงานและสิทธิแรงงาน ดังที่เกิดขึ้นแล้วกับคนงานหลายๆสถานประกอบการ เช่น คนงาน บริษัท เวิร์ลเวล การ์เม้นท์ , สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย), สหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และแม็คคานิคส์ ในเครือบริษัทเอนี่ออนอิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด, สหภาพแรงงานแคนนาดอล ประเทศไทย , สหภาพแรงงานคาวาซากิยานยนต์แห่งประเทศไทย, สหภาพแรงงานเอ็นทีเอ็นนิเด็ค ประเทศไทย, สหภาพแรงงานมิชลินประเทศไทย ฯลฯ

ผลพวงจากวิกฤติการณ์เศรษฐกิจดังกล่าว เป็นภาพสะท้อนถึงรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ควรพึงรู้และตระหนักว่า ปัญหาผู้ใช้แรงงานและสิทธิแรงงานเป็นวาระสำคัญในการเสริมสร้างสังคมให้เข้มแข็ง ไม่ใช่เพียง “ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง” ที่อาจจะเป็นเพียงมายาภาพเท่านั้น

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ซึ่งเป็นขบวนการแรงงานที่พิทักษ์สิทธิประโยชน์ผู้ใช้แรงงาน อันประกอบด้วยสหพันธ์แรงงาน กลุ่มสหภาพแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน มีความกังวลต่อวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้นำเสนอและผลักดันให้กระทรวงแรงงานแก้ไขปัญหามาโดยตลอด แต่ปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ในทางกลับกันกระทรวงแรงงานได้มีบทบาทเสมอเสมือนผู้พิทักษ์ผลประโยชน์ฝ่ายนายจ้างในหลายกรณี

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จึงมีข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี ในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์เศรษฐกิจและสิทธิแรงงาน ดังนี้
ข้อเรียกร้องระดับนโยบาย
๑. ให้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์เศรษฐกิจ การเลิกจ้าง และสิทธิแรงงาน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ใช้แรงงาน
๒. รับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ ว่าด้วยเรื่องสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวเพื่อเจรจาต่อรอง
๓. ยุตินโยบายส่งเสริมการลงทุนโดยใช้แรงงานราคาถูก อาทิ การจ้างงานเหมาค่าแรง การจ้างงาน ชั่วคราว การจ้างงานค่าจ้างราคาถูก เขตการค้าเสรีที่ห้ามตั้งสหภาพแรงงาน
๔. ปฏิรูประบบสวัสดิการสังคม ปฏิรูปโครงสร้างภาษีให้เป็นธรรม จัดเก็บภาษีรายได้ ภาษีที่ดิน ภาษีมรดก ในอัตราก้าวหน้า และยกเลิกการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
๕. ปฏิรูปและส่งเสริมกฎหมายด้านสิทธิแรงงานที่เกี่ยวข้องฉบับต่างๆ
๖. ให้ยุติมาตรการจับกุมผู้นำแรงงานที่ถูกออกหมายจับ เพิกถอนหมายจับ และตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการสลายการชุมนุม ของผู้บัญชาการตำรวจนครบาล

ข้อเรียกร้องกรณีปัญหาเร่งด่วน
๑. กรณีสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)
๑) ให้บริษัทฯ ยกเลิกประกาศการเลิกจ้างคนงาน และรับคนงานกลับเข้า ทำงานตามปกติ และให้ปฎิบัติตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
๒) ให้บริษัทฯ เปิดเผยข้อมูลการปรับโครงสร้าง รวมถึงการปรึกษาหารือ กับสหภาพแรงงาน และมีส่วนร่วมกับการปรับโครงสร้างทั้งหมด
๓) ให้บริษัทฯ และรัฐบาลจ่ายสวัสดิการและค่าจ้างให้กับคนงานที่ถูกเลิกจ้าง จนกว่าข้อพิพาท กับ บริษัทฯ จะยุติ ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาจะต้องได้รับการปรึกษาหารืออย่างเป็นทางการกับสหภาพแรงงานฯ
๔) รัฐบาลต้องสร้างความมั่นใจให้กับคนงานที่ทำงานในโรงงานว่า บริษัทฯจะไม่มีการเลิกจ้างอีก และไม่ใช้มาตรา ๗๕
๕) รัฐบาลต้องสนับสนุนให้มีสหภาพแรงงานในโรงงาน ที่ได้รับการส่งเสริม การลงทุนจาก BOI และโรงงานที่ได้รับมาตรฐานแรงงานไทยและต้องยุติการสนับสนุนเรื่องไม่เก็บภาษีต่อบริษัทฯ
๖) รัฐบาลต้องหามาตราการช่วยเหลือคนงานที่เป็นหนี้นอกระบบ และในระบบและคนงานที่ถูกอายัดค่าจ้าง ค่าชดเชย ค่าล่วงเวลา จากกรมบังคับคดี
๗) ให้ยกเลิกหมายจับนายสุนทร บุญยอด, น.ส.บุญรอด สายวงศ์ และ น.ส.จิตรา คชเดช ในข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไปฯ จากการชุมนุมในวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๒
๘) ให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน ในการชุมนุมในวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๒ โดย พล.ต.ต วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล ๑ ในการใช้เครื่อง LRAD
๙) ให้ตรวจสอบการเลิกจ้างงานที่มีเจตนาทำลายสหภาพแรงงาน หาแหล่งค่าจ้างราคาถูกและขยายโรงงานใหม่ โดยไม่ปฎิบัติตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ (ข้อตกลงสภาพการจ้างระหว่างบริษัทกับสหภาพแรงงานฯ

๒. กรณีสหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และแม็คคานิคส์ ในเครือบริษัทเอนี่ออน อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด
ให้บริษัทฯ ยกเลิกประกาศการเลิกจ้างคนงาน และรับคนงานกลับเข้า ทำงานตามปกติ และให้ปฎิบัติตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘

๓. กรณีคนงานบริษัทเวิลด์เวลล์การ์เม้นท์
๑) ให้บริษัทฯ จ่ายเงินชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ให้แก่ลูกจ้าง
๒) ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งรัดออกหมายจับ ในคดีแพ่งและคดีอาญา
๓) จัดหาอาชีพใหม่ที่เหมาะสมแก่คนงานที่ถูกเลิกจ้าง และจัดหาแหล่งทุนในการลงทุนโดยไม่คิดดอกเบี้ยให้แก่คนงานที่ต้องการประกอบอาชีพอิสระ

๔. กรณีสหภาพแรงงานแคนนาดอล ประเทศไทย
๑) ให้บริษัทฯ ยกเลิกประกาศการเลิกจ้างคนงาน และรับคนงานกลับเข้า ทำงานตามปกติ
๒) ให้บริษัทฯ ใช้กระบวนการเออร์ลี่รีไทร์ ในกรณีพนักงานประสงค์จะลาออก

๕. สหภาพแรงงานคาวาซากิยานยนต์แห่งประเทศไทย
๑) กรณีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงาน เจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงานไม่ใช้อำนาจในการดำเนินการแก้ไขปัญหา
๒) กรณีการแก้ไขปัญหาโดยการลงประชามติ ไม่ควรใช้เป็นบรรทัดฐานในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงประชามติที่ขัดต่อกฏหมายแรงงาน

๖. สหภาพแรงงานเอ็นทีเอ็นนิเด็ค ประเทศไทย
๑) ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งรัดการดำเนินคดีข่มขู่ฆ่า ทำร้าย คณะกรรมการสหภาพแรงงานฯ โดยเร่งด่วน
๒) ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการ ในคดีลอบยิงผู้จัดการอย่างโปร่งใส เนื่องจากสหภาพแรงงานฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ

๗. สหภาพแรงงานมิชลินประเทศไทย
๑) ให้บริษัทฯ ยกเลิกการดำเนินคดีใดๆ กับกรรมการสหภาพแรงงาน
๒) ให้รับลูกจ้างและสหภาพแรงงาน



ที่มา http://www.prachatai.com/journal/2009/09/25837