Google
 

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เข้าร่วมเดินขบวนและทำข่าวพร้อมคนงานไทรอัมพ์ไทย-ฟิลิปปินส์ประมาณ 1,000 คนเพื่อยื่นหนังสือต่อเอกอัครราชทูต สถานทูตเยอรมนี‏‏

เข้าร่วมเดินขบวนและทำข่าวพร้อมคนงานไทรอัมพ์-ฟิลิปปินส์ แนวร่วมองค์กรและนักสหภาพแรงงาน ประมาณ 1,000 คนเพื่อยื่นหนังสือต่อ
ดร. ฮันส์ ไฮน์ริช ชูมัคเคอร์
เอกอัครราชทูต สถานทูตเยอรมนี ประจำกรุงเทพฯ
วันที่ 13 สิงหาคม 2552 เวลา 09.00น.
เจอกันหน้าอาคาร คิวเฮาส์

เพื่อให้นายจ้าง-นายทุนชาวเยอรมันเข้ามาแก้ปัญหารับผิดชอบกรณีเลิกจ้างคนงานไทรอัมพ์ 1,959 คน

ให้นายจ้าง-นายทุน ทำตามแนวทางการปฏิบัติของบริษัทข้ามชาติ (OECD Guidlines) ตามหลักของ OECD guidelines for MNEs , ปฏิบัติตาม Code of Conduct ซึ่งมุ่งเน้นถึงความสำคัญของการปกป้องสิทธิมนุษยชน ดังที่กล่าวไว้ใน
ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (the "General Declaration of Human Rights") ปฏิบัติตามข้อตกลงที่เกี่ยวข้องขององค์กรระหว่างประเทศ (ILO) และข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ขององค์การสหประชาชาติ

ในด้านกฎระเบียบและการพัฒนาการปฏิบัติพัฒนาการปฏิบัติงานและสภาวะทางเศรษฐกิจ และได้รับมาตรฐานแรงงานไทยจากกระทรวงแรงงาน


แถลงการณ์เรียกร้องความเป็นธรรมนายทุน “เยอรมนี” ยักษ์ใหญ่ชุดชั้นใน ชุดว่ายน้ำไทรอัมพ์ เลิกจ้างคนงานที่สมุทรปราการ 1,959 คน ซึ่งมีแต่คนงานอายุมาก คนท้อง คนป่วย คนพิการ และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน เยอรมนียึดหลักการปรึกษาหารือกับสหภาพแรงงานแต่นายทุนไทรอัมพ์ฯไม่ปฎิบัติ

เรียนพี่น้องประชาชนทุกท่าน

พวกเราคนงานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯเป็นคนงานบริษัทบอดี้แฟชั่น(ประเทศไทย)จำกัดซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลเป็นบริษัทฯที่มีเจ้าของเป็นชาวเยอรมนี และก่อตั้งบริษัทครั้งแรกในเยอรมันนี ในปัจจุปันตั้งอยู่ที่ 393 หมู่ 17 นิคมอุตสาหกรรมเมืองใหม่บางพลี ต. บางเสาธง อ. บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ประกอบกิจการอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ผลิต ชุดชั้นใน และชุดว่ายน้ำ ยี่ห้อไทรอัมพ์ วาเลเซีย สล๊อคกี้ AMO ,HOM

บริษัทฯได้มีการประกาศเลิกจ้างคนงานเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 ทั้งหมด 1,959 คน เป็นจำนวน 50% ของคนงานทั้งหมดที่ โรงงานบางพลีให้มีผลการพ้นสภาพการเป็นคนงานของบริษัทบอดี้ฯในวันที่ 31 สิงหาคม 2552 และคนงานที่ถูกเลิกจ้างเป็นกรรมการสหภาพแรงงานฯถึง 13 คนจากกรรมการสหภาพแรงงานทั้งหมด 19 คน เป็น มีคนท้อง คนงานอายุมาก คนป่วย คนพิการ และคนงานที่ทำงานให้บริษัทฯมาอย่างยาวนานถึง 20-30 ปี และส่วนใหญ่เป็นคนงานหญิง


ในการเลิกจ้างครั้งนี้บริษัทฯได้อ้างว่า “ต้องการปรับปรุงโครงสร้างค่าใช้จ่ายระยะยาวของไทรอัมพ์ทุกหน่วยงาน จุดมุ่งหมายเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรให้มีประสิทธิผล ทำให้เกิดความมั่นใจว่าธุรกิจของเรายังคงยืนหยัดอยู่ได้ด้วยความมั่นคงและยังขยายต่อได้เมื่อโอกาสมาถึง” ในขณะที่มีการขยายกำลังการผลิตที่โรงงานที่นครสวรรค์ ด้วยการซื้อที่ดินและสร้างโรงงานที่ได้มาตรฐานรองรับการผลิตได้เต็มที่ได้ถึง 2,000 คน ในปีที่ผ่านมา โดยได้รับการสนับสนุนการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ได้รับการส่งเสริมการลงทุน 75.5 ล้าน

ในปัจจุปันโรงงานที่นครสวรรค์มีคนงานถึง 1,000 กว่าคน แต่ไม่มีสหภาพแรงงาน ซึ่งถือเป็นองค์กรพื้นฐานของคนงาน และในวันที่ 7 สิงหาคม 2552 บริษัทฯได้ชี้แจงว่าจะมีการขยายสาขาการขายเพิ่มและจะนำสินค้าเข้ามาจากเวียดนามและฟิลิปินส์(ในฟิลิปินส์เพิ่งปิดโรงงานทั้งหมดในวันที่ 26 มิถุนายน 2552)

ในการเลิกจ้างครั้งนี้สหภาพแรงงานฯไม่ได้มีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือ สหภาพแรงงานฯเชื่อว่าการเลิกจ้างครั้งนี้ เป็นการย้ายฐานการผลิตเพื่อหาแหล่งการดำเนินกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษี และทำลายสหภาพแรงงานและเตรียมเข้าสู่การจ้างานซับคอนแทคที่เป็นการจ้างงานแบบทาส


สหภาพแรงงานฯ จึงเดินทางจากสมุทรปราการมาขอเรียกร้องความเป็นธรรมต่อ “ดร. ฮันส์ ไฮน์ริช ชูมัคเคอร์ เอกอัครราชทูต สถานทูตเยอรมนี ประจำกรุงเทพฯ การกระทำดังกล่าวของบริษัทฯเป็นการกระทำที่ไม่เคารพในสิทธิมนุษยชน เป็นการกระทำที่เห็นคนงานเป็นเพียงสินค้าเมื่อรีดแรงงานหมด ก็โยนทิ้งให้คนงานเหล่านั้นต้องเผชิญกับความยากจนข้นแค้น เผชิญกับการใร้ที่อยู่อาศัย กับการที่ลูกไม่สามารถได้เรียนหนังสือ คนงานจะกลายเป็นคนว่างงานที่ไม่มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อีกต่อไป

การกระทำของบริษัทไม่ได้ผ่านการปรึกษาหารือกับสหภาพแรงงาน”ในฐานะที่ประเทศของท่านยอมรับหลักปฎิบัติมาตรฐานแรงงานสากลและแนวปฏิบัติของบรรษัทข้ามชาติ (OECD Guidelines) ตามหลัก OECD Guidelines for MNEs และต้องให้บริษัทฯปฏิบัติตาม CODE OF CONDUCT ของกลุ่มบริษัทไทรอัมพ์ฯ ซึ่งมุ่งเน้นถึงความสำคัญของการปกป้องสิทธิมนุษยชน ดังที่กล่าวไว้ในปฎิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(the “General Declaration Of Human Rights”) และพร้อมใจปฎิบัติตามข้อตกลงที่เกี่ยวข้องขององค์กรแรงระหว่างประเทศ ( ILO) และข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ขององค์การสหประชาชาติ ในด้านกฎระเบียบและการพัฒนาการปฎิบัติงานและสภาวะทางเศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้นักลงทุนของเยอรมนีต้องตะหนักและปฎิบัติอย่างจริงจัง


ในขณะนี้คนงานทั้งหมดชุมนุมอยู่ที่ ข้างโรงงานเพื่อรอความเป็นธรรม ทุกท่านสนับสนุนการต่อสู้ได้ติดต่อ เบอร์โทร 084-5382016 เบอร์โทร 087-0206672 Email: ning2475@hotmail.comสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย

13 สิงหาคม 2552