Mon, 2010-02-22 20:43
หลังการชุมนุมกว่า 8 เดือนที่ใต้ถุนกระทรวงแรงงาน ล่าสุด อดีตคนงานไทรอัมพ์ฯ ได้รับเงื่อนไขรับจักร 250 ตัวจากกระทรวงแรงงานแล้ว ระบุยุติการชุมนุม 28 ก.พ.นี้ ย้ำไม่ยุติการต่อสู้
กรณีอดีตคนงานบริษัทบอดี้ แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตชุดชั้นในและชุดว่ายน้ำยี่ห้อไทรอัมพ์ ที่ถูกเลิกจ้าง ชุมนุมต่อเนื่องที่บริเวณใต้ถุนอาคารกระทรวงแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค.52 เป็นต้นมา เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาล รวมถึงกระทรวงแรงงานแก้ปัญหาการเลิกจ้างคนงาน 1,959 คน ซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของบริษัท
ล่าสุด (22 ก.พ.) ที่กระทรวงแรงงาน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงษ์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน นายธวัช สุรินทร์คำ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายพงษ์ศักดิ์ เปล่งแสง โฆษกกระทรวงแรงงาน ร่วมลงนามข้อตกลงการมอบจักรเย็บผ้าจำนวน 250 ตัว เพื่อช่วยเหลือในการประกอบอาชีพให้กับกลุ่มสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ โดยมีนางสาวจิตรา คชเดช ผู้แทนสหภาพฯ ร่วมลงนาม
นางสาวจิตรา คชเดช ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย ระบุว่า คนงานไม่ได้พอใจกับข้อเสนอนี้เท่าใดนัก แต่จำต้องยอมรับเพราะคนงานได้ชุมนุมมายาวนาน 8 เดือน แต่ไม่มีแนวโน้มว่าจะได้รับการแก้ปัญหา ทั้งยังต้องเจอกับปัญหาปากท้องอีกด้วย ทั้งนี้ สำหรับจักร 250 ตัวที่รับมาจะแจกจ่ายให้กับคนงานที่ต้องการตามความจำเป็น ส่วนคนที่ไม่ได้จักรนั้น ก็จะมอบเงินที่ได้จากการขายกางเกงใน Try Arm คนละ 2,000 บาท
นางสาวจิตรา กล่าวว่า ในวันที่ 27 ก.พ. คนงานจะจัดงานสัมมนาเพื่อพูดคุยถึงการต่อสู้ 8 เดือนที่ผ่านมา และก้าวต่อไปของการต่อสู้ และจะย้ายออกจากใต้ถุนกระทรวงฯ ภายในวันที่ 28 ก.พ.นี้
"การยุติการชุมนุมที่กระทรวงแรงงานไม่ได้หมายถึงการยุติการต่อสู้ แต่เป็นการปรับเปลี่ยนไปสู่การต่อสู้รูปแบบใหม่ ไม่ต้องนั่งชุมนุม" นางสาวจิตรากล่าวและว่า ที่ผ่านมา พวกเธอเคยใช้ทุกวิถีทางที่หลายคนบอกว่าดีแล้ว ทั้งการผละงาน ทำงานให้ช้าลง หรือชุมนุมต่อเนื่องยาวนาน แต่ก็ไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจของนายจ้างหรือรัฐบาล
นางสาวจิตรา กล่าวด้วยว่า การผลิตชุดชั้นในยี่ห้อ Try Arm นั้นจะยังมีต่อไป โดยขณะนี้มีคนงานสนใจเข้าร่วมการผลิต 60 คนแล้ว ตอนนี้อยู่ระหว่างการหาสถานที่เพื่อทำการผลิตและรับบริจาคจักรเพิ่ม อย่างไรก็ตาม หากยังหาสถานที่ไม่ได้ ก็จะใช้พื้นที่สำนักงานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ ไปก่อน
ส่วนคดีที่แกนนำสหภาพไทรอัมพ์ฯ ถูกออกหมายจับข้อหามั่วสุมเกิน 10 คนก่อความวุ่นวายฯ จากการชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภานั้น นางสาวจิตรา ระบุว่า อัยการนัดฟังคำสั่งคดีในวันพรุ่งนี้ (23 ก.พ.) เวลา 8.00น. (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)
ส่วนคดีที่แกนนำสหภาพไทรอัมพ์ฯ ถูกออกหมายจับข้อหามั่วสุมเกิน 10 คนก่อความวุ่นวายฯ จากการชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภานั้น นางสาวจิตรา ระบุว่า อัยการนัดฟังคำสั่งคดีในวันพรุ่งนี้ (23 ก.พ.) เวลา 8.00น. (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)
แถลงการณ์
เรียนสื่อมวลชนและพี่น้องผู้ใช้แรงงานรวมถึงประชาชนทุกท่าน
พวกเราอดีตสมาชิกสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯเป็นคนงานบริษัทบอดี้แฟชั่น(ประเทศไทย)จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล ที่เป็นบริษัทฯของชาวเยอรมันสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่มีผู้ถือหุ้นคนไทยชื่อนางเลียวนี่ เดซี่ เวชชาชีวะ ร่วมด้วย บริษัทฯตั้งอยู่ที่ 393 หมู่ 17 นิคมอุตสาหกรรมเมืองใหม่บางพลี ต. บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ประกอบกิจการอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ผลิต ชุดชั้นใน และชุดว่ายน้ำ ยี่ห้อไทรอัมพ์ วาเลเซีย สล๊อคกี้ AMO ,HOM บริษัทฯได้การประกาศเลิกจ้างคนงานเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 ทั้งหมด 1,959 คน เป็นจำนวน 50% ของคนงานทั้งหมดที่ โรงงานบางพลีให้มีผลการพ้นสภาพการเป็นคนงานของบริษัทบอดี้ฯในวันที่ 31 สิงหาคม 2552 และคนงานที่ถูกเลิกจ้างเป็นกรรมการสหภาพแรงงานฯถึง 13 คนจากกรรมการสหภาพแรงงานทั้งหมด 18 คน มีคนท้อง คนงานอายุมาก คนป่วย คนพิการ และคนงานที่ทำงานให้บริษัทฯมาอย่างยาวนานถึง 20-30 ปี และส่วนใหญ่เป็นคนงานหญิง ในการเลิกจ้างครั้งนี้บริษัทฯได้อ้างว่า“ต้องการปรับปรุงโครงสร้างค่าใช้จ่ายระยะยาวของไทรอัมพ์ทุกหน่วยงาน จุดมุ่งหมายเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรให้มีประสิทธิผล ทำให้เกิดความมั่นใจว่าธุรกิจของเรายังคงยืนหยัดอยู่ได้ด้วยความมั่นคงและยังขยายต่อได้เมื่อโอกาสมาถึง” ในขณะที่มีการขยายกำลังการผลิตที่โรงงานที่นครสวรรค์ ด้วยการซื้อที่ดินและสร้างโรงงานที่ได้มาตรฐานรองรับการผลิตได้เต็มที่ได้ถึง 2,000 คน ในปีที่ผ่านมา โดยได้รับการสนับสนุนการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในปัจจุบันโรงงานที่นครสวรรค์มีคนงานถึง 1,000 กว่าคน แต่ไม่มีสหภาพแรงงาน ซึ่งถือเป็นองค์กรพื้นฐานของคนงาน
พวกเราอดีตสมาชิกสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯเป็นคนงานบริษัทบอดี้แฟชั่น(ประเทศไทย)จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล ที่เป็นบริษัทฯของชาวเยอรมันสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่มีผู้ถือหุ้นคนไทยชื่อนางเลียวนี่ เดซี่ เวชชาชีวะ ร่วมด้วย บริษัทฯตั้งอยู่ที่ 393 หมู่ 17 นิคมอุตสาหกรรมเมืองใหม่บางพลี ต. บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ประกอบกิจการอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ผลิต ชุดชั้นใน และชุดว่ายน้ำ ยี่ห้อไทรอัมพ์ วาเลเซีย สล๊อคกี้ AMO ,HOM บริษัทฯได้การประกาศเลิกจ้างคนงานเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 ทั้งหมด 1,959 คน เป็นจำนวน 50% ของคนงานทั้งหมดที่ โรงงานบางพลีให้มีผลการพ้นสภาพการเป็นคนงานของบริษัทบอดี้ฯในวันที่ 31 สิงหาคม 2552 และคนงานที่ถูกเลิกจ้างเป็นกรรมการสหภาพแรงงานฯถึง 13 คนจากกรรมการสหภาพแรงงานทั้งหมด 18 คน มีคนท้อง คนงานอายุมาก คนป่วย คนพิการ และคนงานที่ทำงานให้บริษัทฯมาอย่างยาวนานถึง 20-30 ปี และส่วนใหญ่เป็นคนงานหญิง ในการเลิกจ้างครั้งนี้บริษัทฯได้อ้างว่า“ต้องการปรับปรุงโครงสร้างค่าใช้จ่ายระยะยาวของไทรอัมพ์ทุกหน่วยงาน จุดมุ่งหมายเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรให้มีประสิทธิผล ทำให้เกิดความมั่นใจว่าธุรกิจของเรายังคงยืนหยัดอยู่ได้ด้วยความมั่นคงและยังขยายต่อได้เมื่อโอกาสมาถึง” ในขณะที่มีการขยายกำลังการผลิตที่โรงงานที่นครสวรรค์ ด้วยการซื้อที่ดินและสร้างโรงงานที่ได้มาตรฐานรองรับการผลิตได้เต็มที่ได้ถึง 2,000 คน ในปีที่ผ่านมา โดยได้รับการสนับสนุนการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในปัจจุบันโรงงานที่นครสวรรค์มีคนงานถึง 1,000 กว่าคน แต่ไม่มีสหภาพแรงงาน ซึ่งถือเป็นองค์กรพื้นฐานของคนงาน
การเลิกจ้างในครั้งนี้ใช้วิธีการส่ง SMS ให้กับคนงานในเวลา ตี 2 เพื่อให้คนงานไปพบกันที่ศูนย์ไบเทค บางนาของวันที่ 29 มิถุนายน 2552 โดยใช้วิธีการแจกซองและให้ไปเสี่ยงโชคเอาเองว่าใครจะถูกเลิกจ้างหรือไม่ ซึ่งคนงานไม่มีใครทราบล่วงหน้ามาก่อน
พวกเราได้ชุมนุมเรียกร้องที่หน้าบริษัทฯตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน 2552 ได้ยื่นหนังสือ ถึง คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) นายกรัฐมนตรี สถานทูตสวิสเซอร์แลนด์ สถานทูตเยอรมัน EU, UN, กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมาธิการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สภาทนายความ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในการยื่นหนังสือต่อที่ต่างๆไม่ได้รับการแก้ปัญหาแต่อย่างใด
พวกเราได้ส่งตัวแทนเดินทางไปรณรงค์เกี่ยวกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมของบริษัทฯที่ ประเทศฟิลิปินส์ ฮ่องกง และเดินทางไปยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ กระทรวงเศรษฐกิจ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ร้องเรียนการละเมิดหลัก OECD ของบริษัทฯ และรณรค์ในยุโรป 6 ประเทศ
วันที่ 13 ตุลาคม 2552 ได้ย้ายการชุมนุมมาที่กระทรวง เพื่อเรียกร้องให้กระทรวงแรงงานเข้ามาดำเนินการแก้ปัญหาการเลิกจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้าง และเรียกร้องให้กระทรวงแรงงานได้ใช้นโยบายการบริหารประเทศเกี่ยวกับการชะลอการเลิกจ้าง และสร้างความมั่นคงในการทำงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2552 คนงานได้ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานเรียกร้องให้กระทรวง จัดหาจักรเย็บผ้าเพื่อนำไปประกอบอาชีพให้กับคนงานที่ไม่สามารถหางานใหม่ได้ หรือบางคนได้งานที่ค่าจ้างน้อยไม่พอกับการดำรงชีพในสังคมได้ทั้งหมด 560 คน และให้กระทรวงหาพื้นที่ให้คนงานรวมกลุ่มกันผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายเพื่อการรวมกลุ่มประกอบอาชีพอิสระ รวมถึงพื้นที่ขายของให้กับกลุ่มคนงาน
วันที่ 27 มกราคม 2553 รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานฯ ได้แจ้งให้ทราบว่าสิ่งที่คนงานขอทั้งหมดกระทรวงดำเนินให้ตามที่คนงานต้องการ โดยมอบหมายให้ปลัดกระทรวงแรงงานร่วมกับที่ปรึกษารัฐมนตรีดำเนินการต่อได้ทันที
วันที่18 กุมภาพันธ์ 2553 รองปลัดกระทรวงแรงงานร่วมกับที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ได้แจ้งให้ตัวแทนคนงานฯ ทราบว่าจะจัดจักรให้กับคนงานทั้งหมด 250 ตัว(ตามรายละเอียดในบันทึกข้อตกลง) ซึ่งไม่ตรงกับที่รัฐมนตรีรับปากไว้ในวันที่ 27 ก.พ.53 ว่าจัดจักรให้ 560 ตัว พร้อมพื้นที่ในการผลิตที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1 สมุทรปราการ และพื้นที่ขายของในกระทรวงแรงงานและกระทรวงพาณิชย์
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 รองปลัดกระทรวงแรงงานร่วมกับที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงแรงงานแจ้งให้ทราบว่าจะรับข้อเสนอของกระทรวงหรือไม่ กระทรวงต้องดำเนินการให้เด็ดขาดเพราะว่า กระทรวงได้การตรียมการใช้มาตรการต่อไปแน่นอนถ้าไม่รับข้อเสนอของกระทรวง เป้าหมายเพื่อให้การมีจัดงานวันสตรีสากลได้อย่างราบรื่น
ด้วยระยะเวลาการชุมนุมที่ยาวนานถึง 8 เดือน พวกเราจึงประชุมเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมเป็นประชาธิปไตยในการตัดสินใจ ในการปรับรูปแบบการต่อสู้ การยุติการชุมนุมที่กระทรวงแรงงานไม่ได้หมายความว่าคนงานฯจะยุติการเรียกร้องต่อบริษัทฯ และรัฐบาล แต่เป็นการต่อสู้อีกรูปแบบหนึ่งคือการสร้างผลิตภัณฑ์ Try Arm เพื่อการบอกเล่าเรื่องราวการถูกเอารัดเอาเปรียบจากบริษัทฯและการไม่ได้รับการยุติธรรมต่อรัฐบาล เช่น การทดลองใช้เครื่อง LRAD ของตำรวจ การออกหมายจับแกนนำ 3 คน เพื่อให้สังคมรับทราบต่อไป
การที่กระทรวงจัดจักรเย็บผ้าให้กับพวกเรา 250 คันนั้นมันไม่เพียงพอต่อการจัดสรรให้กับเพื่อนๆ พวกเราจึงขอรับบริจาคจักรเย็บผ้า และพื้นที่ในการผลิต เพื่อจะได้ทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเราคนตกงานที่ขาดการความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงานและบริษัทฯต่อไป
ติดต่อการบริจาคได้ที่คุณจิตรา คชเดช Email: ning2475@hotmail.com
หรือคุณธัญยธรณ์ คีรีถาวรพัฒน์ Email: matong6859@hotmail.com
หรือคุณธัญยธรณ์ คีรีถาวรพัฒน์ Email: matong6859@hotmail.com
ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนในการต่อสู้พวกเรามาโดยตลอด พวกเราจะยึดมั่นในหลัก
ประชาธิปไตย ในการทำให้สังคมดีขึ้น
ประชาธิปไตย ในการทำให้สังคมดีขึ้น
อดีตสมาชิกสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย
22 กุมภาพันธ์ 2553
22 กุมภาพันธ์ 2553