Google
 

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554

“จิตรา” เมิน ปชป. โต้ผ่านเว็บ พร้อมทวงจักรเย็บผ้ากว่า 150 หลังที่ยังไม่ได้รับมอบ

จิตรา คชเดชแจงชูป้ายในงานวันสตรีสากลทำให้มาร์คพูดไม่ได้และคนฟังสัมมนาฟังไม่ได้อย่างไร พร้อมเผยเปลี่ยน รมต.แรงงานมา 2 คน ยังมีจักรเย็บผ้าอีกกว่า 150 หลังที่ยังไม่ได้รับมอบ บางส่วนถูกขนไปไว้มูลนิธิที่พิจิตร เชื่ออภิสิทธิ์รู้เรื่องแต่ทำเป็นเฉย
กรณีที่ น.ส.จิตรา คชเดช ผู้นำแรงงาน ‘Try Arm’ อดีตผู้นำแรงงานไทรอัมพ์ พร้อมเพื่อนแรงงานร่วมกันชูป้าย “มือใครเปื้อนเลือด” และ “ดีแต่พูด” เพื่อประท้วงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ระหว่างนายอภิสิทธิ์เดินทางมาร่วมการเฉลิมฉลอง 100 ปี วันสตรีสากล 8 มีนาคม เมื่อ 6 มี.ค. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น
และเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ได้ชี้แจงกรณีที่เกิดขึ้นว่า “ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า คนเรียกร้องมีจิตวิญญาณ มีรากเหง้าแห่งความเป็นประชาธิปไตยหรือมีวิถีชีวิตประชาธิปไตยสักแค่ไหน” และว่า “การยกป้ายในที่สัมมนาวันสตรีสากลที่ธรรมศาสตร์ ก็คือการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่ที่เขาต้องการจะฟัง นายกรัฐมนตรี แล้วคิดว่าคนงานหญิงนี้กระทำเหมาะสมหรือเปล่า ถูกกาลเทศะหรือไม่” [อ่านข่าวก่อนหน้านี้]
ล่าสุดในเฟซบุ๊กของ น.ส.จิตรา ได้ชี้แจงว่า ““ชูป้ายเงียบๆ มันทำให้มาร์คพูดไม่ได้คนฟังฟังไม่ได้ยังไงวะ พรรคประชาธิปัตย์ต้องมีปัญหาเรื่องประชาธิปไตยอย่างแรง แล้ว ส.ส.ประชาธิปัตย์อมจักรเขาไปจะตอบยังไงวะ”

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

เว็บ ปชป. ชี้กรณี “จิตรา” ชูป้ายเป็นการละเมิดเสรีภาพผู้ร่วมสัมมนาที่ต้องการจะฟังนายกฯ

เว็บประชาธิปัตย์ตอบคำถามเกิดอะไรขึ้นที่มีคนชูป้ายด่านายกฯ ในงานวันสตรีสากล ชี้ไม่รู้เหมือนกันว่าคนเรียกร้องมีจิตวิญญาณ รากเหง้าความเป็นประชาธิปไตยแค่ไหน เชื่อเป็นการละเมิดเสรีภาพของผู้ร่วมสัมมนาส่วนใหญ่ที่ต้องการจะฟังนายกรัฐมนตรี แนะเห็นต่างย่อมทำได้ แต่ต้องถูกกาลเทศะและวิธีการ

กรณีคนงานสตรีนำโดย น.ส.จิตรา คชเดช ชูป้ายประท้วงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อ 6 มี.ค. 53 (ที่มาของภาพ: วอยซ์ทีวี)

เสวนา พ.ร.บ.ชุมนุมฯ “จิตรา” ชี้แจ้งล่วงหน้าในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยาก



กลุ่มประกายไฟจัดเสวนา “พระราชบัญญัติการชุมนุมเกี่ยวอะไรกับเรา”  จิตรา คชเดช อดีตที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ชี้การที่จะต้องแจ้งล่วงหน้านี้เป็นปัญหาแน่ ในทางปฏิบัติเป็นไปไม่ได้เลย 
วันนี้ (9 เม.ย. 54) เวลา 13.00 น. กลุ่มประกายไฟจัดเสวนา “พระราชบัญญัติการชุมนุมเกี่ยวอะไรกับเรา” โดยมี จิตรา คชเดช อดีตที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ อานนท์ นำภา ทนายความสำนักราษฎรประสงค์ อนุสรณ์ อุณโณ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ สำนักงานวันอาทิตย์สีแดง อิมพีเรียลลาดพร้าว

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

“จิตรา” เข้าแจ้งความถูกขู่ทำร้าย เจ้าตัวหวั่นเหตุจากประเด็นการเมือง

“จิตรา คชเดช” เข้าแจงความ สน.ชนะสงคราม ถูกอดีตผู้บริหารบริษัทนายจ้างเก่าข่มขู่จะทำร้ายหาว่าเป็นต้นเหตุทำให้ต้องตกงาน เจ้าตัวงงถูกเลิกจ้างมากว่า 2 ปีแล้ว หวั่นเป็นประเด็นการเมือง จากกรณีชูป้ายประท้วงนายกฯ
 
 
 
วันนี้ (12 มี.ค.54) เมื่อเวลาประมาณ 18.30 น.ที่สถานีตำรวจชนะสงคราม นางสาวจิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ เข้าแจ้งความกรณีเมื่อประมาณ 17.00 น.วันเดียวกันนี้ได้ไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง ขณะที่เดินอยู่บริเวณถนนราชดำเนิน ได้ถูกชายซึ่งเป็นอดีตผู้บริหารบริษัท บอดี้แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมเพื่อน เข้ามาพูดจาข่มขู่จะทำร้าย โดยท้าทายให้ออกจากพื้นที่ชุมนุม
 

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

Three unionists at the commencement of trial on causing public disorder


Envoys from Belgian and Swiss Embassies in Bangkok attended the court session regarding the right to peaceful assembly and association. They promise to observe the trial closely and attend the next hearings which will take place on 15 November this year onwards.

28 March 2011: 9.30 am at the Criminal Court, in Room no. 707, Ms. Jitra Cotchadet, advisor to the Triumph Labour Union, Ms. Boonrod Saiwong, Former Executive Secretary of the Triumph Labour Union and Mr. Sunthorn Boonyod, staff member of the Labour Union Center, attended the first hearing at the Criminal Court to review evidence. The defendants are accused of violating Section 215 and 216 of the Penal Code which stipulates against the “gathering of ten people upwards to do or threaten to do an act of violence, or do anything to cause a breach to the peace…and being the manager or the person having the duty to give orders for the commission of the offence…and when the official orders the persons assembled together to disperse, the persons refuse to do so”. The Black Case no. Or 620/2554 was filed by the public prosecutor of the Division of Special Prosecution 10, Office of the Attorney General.

Envoys from the Swiss and Belgian Embassies were present during the review of the evidence including Mr. Daniel De Waegh, Investment and Trade Commissioner, of the Belgian Embassy to Thailand. They shall be present during the next hearings which shall take place from 15-16 November 2011 during which the examinations of six prosecution witnesses shall take place. From 16-22 November, 14 defendant witnesses shall be examined, too.

3 นักสหภาพแรงงาน ขึ้นศาลนัดตรวจพยานหลักฐาน คดีก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง

ทูตเบลเยี่ยม-สวิสร่วมฟังการพิจารณาคดีสิทธิการชุมนุม พร้อมติดตามเข้าร่วมการสังเกตการณ์พิจารณาคดี นัดต่อไป 15 พ.ย.นี้ สืบพยานโจทก์

วานนี้ (28 มิ.ย.54) เวลา 9.30 น ที่ศาลอาญา รัชดา ห้องพิจารณาที่ 707 น.ส.จิตรา คชเดช ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ น.ส.บุญรอด สายวงศ์ อดีตเลขาธิการสหภาพฯ และนายสุนทร บุญยอด เจ้าหน้าที่สภาศูนย์กลางแรงงาน ได้เดินทางมาพบศาล เพื่อประชุมคดีตรวจพยานหลักฐานในคดีที่ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดี "ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อการวุ่นวานขึ้นในบ้านเมือง โดยเป็นหัวหน้าหรือผู้มีหน้าที่สังการในการกระทำความผิดนั้น เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้ผู้ที่มั่วสุมเพื่อกระทำความผิดนั้นให้เลิกแล้วไม่เลิก" ในคดีหมายเลขดำที่ อ.620/2554 ซึ่งมีพนักงานอัยการ สนง.อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 สนง.อัยการสูงสุด เป็นโจทก์

โดยการประชุมคดีตรวจพยานหลักฐานในครั้งนี้ได้มีเจ้าหน้าที่จะสถานทูตสวิสเซอร์แลนด์ รวมถึงเจ้าหน้าด้านเศราฐกิจจากสถานทูตเบลเยียมประจำกรุงเทพฯ คือคุณ ดาเนียล เดอ วาก (Investment and Trade Commissioner) ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังการพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิการชุมนุมนี้ พร้อมทั้งจะติดตามเข้าร่วมการสังเกตการณ์การพิจารณาคดีสืบพยานนัดต่อไปด้วย

ซึ่งนัดสืบพยานโจทก์นั้นจะเป็นวันที่วันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2554 โดยให้โจทก์สืบพยานโดยโจทก์ขอสืบพยานจำนวน 6 ปาก และต่อเนื่องวันที่ 16-22 พฤศจิกายน 2554 จะเป็นนัดสืบพยานจำเลย จำนวน 14 ปาก

เอกสารคำฟ้อง

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

นิตยสาร อินโคต้า (Inkota) จากเยอรมัน ลงมุมมองเกี่ยวกับสิทธิสตรี เนื่องในวันสตรีสากล ของจิตรา คชเดช



นิตยสาร อินโคต้า (Inkota) จากเยอรมัน ลงมุมมองเกี่ยวกับสิทธิสตรี เนื่องในวันสตรีสากล (คำอธิบายเกี่ยวกับนิติยสาร ฉบับนี้ ดูที่ http://www.inkota.de/aktuell/news/vom/28/feb/2011/feminismus-im-plural-frauen-weltweit-in-bewegung/ แต่เป็นภาษาเยอรมันซึ่งเราก็อ่านไม่ออก อิอิ : )

แต่ที่เขาตั้งคำถามมาแล้วเราเขียนส่งไปมีดังนี้ 

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

Activist who taunted Thai PM Abhisit receives “death threat”



By Andrew Spooner Mar 14, 2011 2:50PM UTC  source :http://asiancorrespondent.com/50278/activist-who-taunted-thai-pm-abhisit-receives-%E2%80%9Cdeath-threat-%E2%80%9D/

Jittra Cotchadet, the well-known Thai trade unionist and Red Shirt activist, who recentlytaunted the Thai Prime Minister, Abhisit Vejjajiva, during a forum held at Thammasat University to celebrate International Women’s Day,  received a death threat this weekend.
“On Saturday, I went with my colleagues from the Try Arm workers co-operative to sell our products at the Red Shirt rally,” says Jittra. “While they were arranging the stall I quickly went to meet a few other friends near the October 14th Memorial.”
It was on the way to meet these friends that Jittra ran into a man whom she had previously worked with at the Triumph clothing factory (Jittra had organised a strike campaign at the factory and made several enemies while doing so). “I had not seen him for two years so was quite surprised that he was there. By the way he was dressed he certainly wasn’t a protester.”

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554

ข้างหลังป้าย จาก คอลัมน์ บทบรรณาธิการ ข่าวสด



ที่มา : วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7408 ข่าวสดรายวัน หน้า 2 และ http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpHa3dNVEV5TURNMU5BPT0


ข้างหลังป้าย


คอลัมน์ บทบรรณาธิการ

ภาพการชูป้ายประท้วงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ว่า"ดีแต่พูด" ของสตรีหลายรายในงานวันสตรีสากล ได้รับความสนใจจากสาธารณชนวงกว้าง

แต่แง่มุมซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ส่วนใหญ่จะเป็นด้านการเมือง โดยเฉพาะสถานภาพและคะแนนที่ตกต่ำลงของนายกรัฐมนตรี

มีบางสื่อและบางส่วนเท่านั้นที่ติดตามไปหาความจริงข้างหลังป้ายออกมาตีแผ่ ว่าเหตุใดป้ายประท้วงจึงระบุถ้อยคำว่าว่านายกรัฐมนตรีนั้น"ดีแต่พูด"

เมื่อรับทราบที่มาที่ไปก็จะเกิดความเข้าใจว่าเหตุใดจึงต้องมีการประท้วง และทำไมถ้อยคำของการประท้วงจึงออกมาเช่นนั้น

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

Wake up thailand 8 มีนาคม 100 ปี วันสตรีสากล : -แฟชั่น "ชูป้าย" การก่อกวนทางการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย? -เบื้องหลัง "ดีแต่พูด" บันทึกหลังจากชูป้ายให้นายอภิสิทธิ์

8 มีนาคม 100 ปี วันสตรีสากล

รู้จักตัวตนการต่อสู้ของ "จิตรา คชเดช" ผู้หญิงที่กล้าประกาศว่าผู้นำประเทศ "มือเปื้อนเลือด-ดีแต่พูด"

ที่มา : มติชนออนไลน์ วันที่ 08 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวลา 09:30:00 น. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1299509931&grpid=01&catid&subcatid

รับชมข่าว VDO
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เดินทางไปแสดงปาฐกถาและร่วมประกาศเจตนารมณ์ "ผู้หญิงทำงาน สู้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของทุกคน" ในวาระการเฉลิมฉลอง 100 ปี วันสตรีสากล 8 มีนาคม ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

แต่แล้วนายกรัฐมนตรีก็ถูก "ป่วน" โดยสตรีกลุ่มหนึ่ง ที่ทั้งตะโกนคำว่า "มือเปื้อนเลือด" และชูป้ายกระดาษซึ่งมีข้อความว่า "ใครเปื้อนเลือด?" และ "ดีแต่พูด" ใส่นายอภิสิทธิ์ที่ยืนรับแผ่นประกาศเจตนารมณ์และแสดงปาฐกถาอยู่บนเวที

หนึ่งในสตรีเหล่านั้นก็คือ"จิตราคชเดช" อดีตประธานสหภาพไทรอัมพ์ ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาสหภาพไทรอัมพ์ ทั้งยังเป็นผู้เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง

จิตราถือเป็นนักกิจกรรมเคลื่อนไหวทางสังคมผู้มีบทบาทโดดเด่นยิ่งคนหนึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

รวมการ์ตูน ท่านนายก "ดีแต่พูด"

การ์ตูนเซีย ไทยรัฐ วันสตรีสากล 8 มี.ค.54

การ์ตูนเซีย 10/03/54... อำนาจ...ในขวดแก้ว

‘แรงงานแดง’ มอบรางวัลสตรีดีเด่น ‘แม่น้องเกด-ผุสดี เสื้อแดงคนสุดท้าย’

ที่มา :Wed, 2011-03-09 04:53 รายงานโดย ประชาไท http://prachatai3.info/journal/2011/03/33443

8 มี.ค.54 เวลา 16.00 น. กลุ่มพลังหญิงและกรรมกรแดงเพื่อประชาธิปไตยจัดงาน 100 ปี สตรีสากล “ผู้หญิงกับเศรษฐกิจ สังคม การเมือง” ขึ้น ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว โดยมีการเสวนาหัวข้อ “ผู้หญิงกับเศรษฐกิจ สังคม การเมือง” และมีพิธีมอบรางวัลผู้หญิงดีเด่น รวมถึงกิจกรรมวัฒนธรรม โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 100 คน

การเสวนา ผู้หญิงกับเศรษฐกิจ สังคม การเมือง

ดร.พิชญ์ มองการชูป้ายกับทฤษฎีประชาธิปไตย


ดร.พิชญ์  พงษ์สวัสดิ์  นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ เชื่อว่าการแสดงออกทางการเมืองผ่านการชูป้ายนั้นสามารถทำได้ ซึ่งในหลายประเทศทั่วโลกก็ใช้วิธีนี้ และนักเคลื่อนไหวได้ปรับกลยุทธเน้นเรียกร้องผ่านสื่อมากขึ้น 

วัฒนธรรมชูป้าย ในการเมืองไทย

การชูป้ายประท้วงและแสดงความคิดเห็นต่อนายกรัฐมนตรีอาจมีจุดเริ่มต้นจากการชูป้ายสนับสนุนพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี